วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 10

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  28   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.



กิจกรรมในวันนี้

     วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำภายในห้องเรียนโดยอาจารย์ได้เตรียม

อุปกรณ์มาทำการทดลองและให้นักศึกษาได้สังเกตซึ่งอาจารย์มีการ

ใช้คำถามมาช่วยในการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้มีการวิเคราะห์

อย่างมีเหตุผล และอาจารย์ยังได้กล่าวถึง

1. ทักษะทางวิทยาศาสตร์

2. แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

     - การเปลี่ยนแปลง < change >

     - ความแตกต่าง < difference >

     - การปรับตัว < adapting >

     - การพึ่งพาอาศัยกัน < dependence >

     - ความสมดุล < balance >




กิจกรรม < Activity > 1 


อุปกรณ์ < tool >

     1. แก้ว < glass >

     2. เทียนไข < candle > 

     3.ไม้ขีดไฟ < match >

     4. ถ้วย < cup >


การทดลอง < experient >


1. นำเทียนมาจุดไฟแล้วหยดน้ำตาเทียนบนก้นถ้วยให้แท่งเทียนไข

ตั้งดังในภาพ

     


2. จากนั้นลองนำแก้วมาครอบลงบนเทียนไขที่ตั้งไว้



3. แล้วสังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่งผลการทดลองจะพบว่าเมื่อเรา

คว่ำแก้วลงบนเทียนไขอากาศภายในแก้วจะดันออกมาจนทำให้เทียนไข

ค่อย ๆ ดับ

          สรุป คือ เมื่อเราคว่ำแก้วลงบนเทียนไขอากาศภายในแก้วจะดัน

ออกมาทำให้เทียนไขนั้นดับในที่สุด





กิจกรรม < Activity > 2




อุปกรณ์ < tool >

     1. กระดาษ A 4  < paper >

     2. โหลบรรจุน้ำ < dozen > 

     3.น้ำ < water >


การทดลอง < experient >

1. พับกระดาษ A 4 แล้วตัดเอาเพียง 1 ช่อง จากนั้นพับมุม 4 มุมแล้วฉีกให้เป็น

รูปคล้าย ๆ ดอกไม้








2. จากนั้นนำกระดาษที่เราพับแล้วลองนำไปลอยน้ำ



3.แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงของกระดาษที่เกิดขึ้น ซึ่งจะพบว่าเมื่อกระดาษ

โดนน้ำกระดาษนั้นเริ่มมีการค่อย ๆ คลายตัวออกจากกัน เนื่องจากน้ำค่อย ๆ 

ซึมเข้าไปในกระดาษ ดังภาพ







          สรุป คือ น้ำจะค่อย ๆ ซึมเข้าไปในกระดาษแล้วจะทำห้กระดาษนั้น

ค่อย ๆ คลายตัวออกทีละน้อยตามปริมาณของน้ำที่ซึมผ่านเข้าไป



กิจกรรม < Activity > 3


อุปกรณ์ < tool >

     1. โหลบรรจุน้ำ  < dozen >

     2. ดินน้ำมัน < plasticine > 

     3.น้ำ < water >  
     4.ลูกแก้ว < marble >

การทดลอง < experient >

1. ปั้นดินน้ำมันให้เป็นวงกลมแล้วลองนำมาลอยน้ำจะพบว่าดินน้ำมันนั้นจะจม





2. อาจารย์ให้ทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้ดินน้ำมันนั้นลอยน้ำแล้วนำเอาลูกแก้ว

ไปวางใส่ในดินน้ำมันแล้วให้สามารถลอยน้ำได้ 

          สรุป อาจารย์เป็นผู้สรุปกินกรรมนี้ว่า ถ้าเราปั้นดินน้ำมันแบน ๆ มีขอบ

สูงนิดหน่อยจะทำให้น้ำไม่สามารถเข้าไปแทนที่ของอากาศที่ลอยตัวอยู่ได้ 

ถ้านำเอาลูกแกเวลูกแรกไปใส่ดินน้ำมันจะยังคงลอยน้ำอยู่ได้ แต่ถ้านำ

ลูกแก้วอีกหนึ่งลูกไปใส่นั้นจะทำให้จมเพราะดินน้ำมันนั้นจะเบากว่าลูกแก้ว

ทำให้ไม่สามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ต่อไป





กิจกรรม < Activity > 4




อุปกรณ์ < tool >

     1. ปากกา  < pen >

     2. แก้ว < glass > 

     3.น้ำ < water >  

การทดลอง < experient >

   เทน้ำใส่ในแก้วที่เตรียมมาในปริมาณที่พอสมควร จากนั้นนำปากกาหย่อน

ลงไปในแก้วน้ำที่บรรจุน้ำอยู่แล้วทำการสังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น ซึ่ง

เราจะมองเห็นปากกาส่วนที่จมอยู่ในน้ำมีขนาดขยายใหญ่ขึ้นแต่ส่วนที่อยู่

เหนือน้ำจะมีขนาดปกติ

          สรุป คือ ที่เรานั้นมองเห็นปากกาส่วนที่จมน้ำอยู่นั้นมีขนาดขยายใหญ่

ขึ้นก็เพราะเกิดจากการหักเหบนผิวน้ำผ่านเข้ามาในตาเรานั่นเอง



การนำไปประยุกต์ใช้

     - กิจกรรมการทดลองที่อาจารย์นำมาสอนในวันนี้ทำให้เรานั้นสามารถ

นำไปประยุกต์ใช้ได้ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก

ปฐมวัยได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ง่ายต่อความเข้าใจของเด็กและเด็กนั้น

สามารถมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วย


การประเมินตนเอง

     - วันนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่อาจารย์นำมาจัดภายในห้องเรียน ได้เรียนรู้ถึง

ผลของการทดลองในการทำกิจกรรมวันนี้ได้เรียนรู้ถึงเหตุและผลของการ

ทดลองต่าง ๆ ทำให้มีความเข้าใจเพิ่มมากยิ่งขึ้น


การประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำทุก ๆ กิจกรรมเป็นอย่างดี

และในกิจกรรมวันนี้ได้สอนให้พวกเราทุกคนรู้จักการรอคอย และการแบ่งปัน

ซึ่งกันและกันทำให้เกิดเป็นมิตรภาพที่ดี


การประเมินอาจารย์

     - วันนี้อาจารย์ได้จัดกิจกรรมให้ทุกคนภายในห้องได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์

ที่สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคตต่อไป นอกจากนี้อาจารย์ยังมีเทคนิควิธีการสอน

ที่ดูดความสนใจของนักศึกษาเป็นอย่างดีทำให้ต้องติดตามการทดลองตั้ง

แต่ต้นจนจบถือเป็นสิ่งที่ดีที่อาจารย์ได้มอบให้แต่ทำให้เราได้เรียนรู้เพื่อนำ

ไปใช้ในการสอนเด็กได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น