วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  16   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.



กิจกรรมในวันนี้


บทความทางวิทยาศาสตร์


     บทความที่  1  เรื่องสอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

          ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสำคัญกับเด็กคือเกิดผลกระทบกับเด็ก  

ดังนั้นการที่เด็กเรียนรู้เื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะทำให้เด็กรู้จัก

อนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้สมบูรณ์  และทำให้

เด็กได้ฝึกฝนทักษะการสังเกต ( observation ) การอธิบาย ( explain )

การเปรียบเทียบ ( compare ) การปฏิบัติ ( parctice )


บทความที่  2  เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          เด็กชอบใช้คำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว  เช่น ดิน ( soil )

หิน ( stone ) อากาศ ( climate )  การแก้ไขปัญหาต้องใช้กระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์  การสังเกต  การจำแนก  เรียงลำดับ  การวัด  การคาดคะเน

ขอบเขตของการเรียนสามารถจัดกลุ่มได้  4  กลุ่มตามหลักสูตร



          วันนี้อาจารย์ได้ให้ฟังเพลงที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งสรุปได้ว่าเนื้อเพลง

เกี่ยวกับการคิด  การทดลอง  การพิสูจน์  เพื่อรับรู้ความจริงถ้าอยากให้เกิดทักษะ

ต้องลงมือกระทำจริง 


ความลับของแสง


          แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่สั้นมากแต่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก  300,000  กม./วินาที

ถ้าเราสามารถวิ่งได้เร็วเท่าแสงเราสามารถวิ่งรอบโลกได้  7  รอบ  ภายใน 1 วินาที

ที่เราสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ใช่เพราะแสงส่องลงมาโดนวัตถุแต่เพียง

อย่างเดียวแต่แสงต้องสะท้อนกับวุตถุนั้นเข้าสู่ตาของเราด้วยเราถึงจะมองเห็น

วัตถุนั้นเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั่นเอง


คุณสมบัติของแสง


          1.แสงเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียวไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง   ในโลกนี้

มีวัตถุอยู่  3  แบบ  คือ  วัตถุโปร่งแสง  วัตถุโปร่งใส  และวัตถุทึบแสง

วัตถุโปรงแสง  แสงจะทะลุได้แค่บางส่วนทำให้มองวัตถุไม่ค่อยชัดเจน

แต่วัตถุโปร่งใสแสงสามารถผ่านไปได้ทั้งหมดทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุ

นั้นได้ชัดเจน  ส่วนวัตถุทึบแสงจะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้แล้วก็จะสะท้อนแสงส่วน

ที่เหลือเข้าสู่ตาของเราซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลก  เช่น  ไม้  หิน  เหล็ก

       
          2.การสะท้อนของแสง  เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุต้องพุ่งไปยังทิศทางตรงกัน

ข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอด  เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของ

วัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ

การสะท้อนของแสงนอกจากจะทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วการสะท้อนแสงยัง

สามารถนำมามองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูง ๆ ได้เพราะแสงสะท้อนจาก

กระจกทั้งสองบานมาเข้าสู่ตาเราทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูง ๆ ได้นั่นเอง


หลักการหักเหของแสง


          แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันเลยทำให้เกิดการหักเหของ

แสง  การหักเหของแสงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เลนส์ที่ถูกทำหน้า

ผิวหน้าโค้งนูนขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้ในการรวมเส้นทางเดิน

ของแสงได้ด้วยเสนส์นูน  นอกจากจะรวมแสงได้แล้วยังสามารถจุดไฟได้ด้วย

เพราะเมื่อเลนส์นูนรวมแสงเป็นจุดเดียวกันแล้วความร้อนที่มาจากแสงก็จะรวมเป็น

จุดเดียวกันด้วยซึ่งความร้อนนั้นก็มากพอที่จะเผาไหม้กระดาษได้

          การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนขึ้นแล้วยังทำให้เรา

ได้เห็นวิวและสีสันสวย ๆ ได้  เช่น  หังจากฝนตกเราจะเห็นรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้าซึ่ง

รุ้งกินน้ำนั้นก็เกิดจาการหักเหของแสง  ปกติแล้วแสงสีขาวที่เราเห็นกันจะประกอบด้วย

สีต่าง ๆ ถึง  7  สี  คือ  สีม่วง  สีคราม  สีน้ำเงิน  สีเขียว  สีเหลือง  สีแสด  สีแดง

เมื่อรวมกันแล้วก็จะกลายเป็นสีขาว  แต่หลังจากฝนตกใหม่ ๆ จะมีละอองน้ำในอากาศ

เมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสงและสีต่าง ๆ ในแสงจะมี

ความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน  ดังนั้นเมื่อมันส่องผ่านละอองน้ำจำนวนมากใน

อากาศจึงเกิดการหักเห ผลที่ตามมา  คือ  แสงสีขาวจะแยกตัวเป็นสีเดิมของมัน

ทั้ง  7  สีที่เรียกว่า  แถบสเปกตรัมของแสง  แสงทั้ง  7  สีเมื่อรวมตัวเข้าด้วยกัน

แล้วจะกลายเป็นสีขาว  แสงสีต่าง ๆ ก็เป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้เรามองเห็น

วัตถุมีแสงสีต่าง ๆ ด้วย เพราะวัตถุต่างมีสีในตัวของมัน  ดังนั้นวัตถุแต่ละชนิด

ก็จะมีความสามารถในการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีได้แตกต่างกัน

เมื่อมีแสงมาตกกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงสีที่เป็นแสง

สีเดียวกันกับวัตถุออกมา  เช่น  ใบไม้จะดูดกลืนแสงสีอื่นเอาไว้แล้วสะท้อนแสงที่เป็น

สีเดียวกันกับวุตถุ  คือ  สีเขียวออกมาทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว




รุ้งกินน้ำ




แถบสเปกตรัม


          เงาก็เกิดจากแสงซึ่งจะเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อย ๆ เมื่อมี

วัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืนและสะท้อนแสง

บางส่วนออกมาแต่พื้นที่่ด้านหลังของวัตถุนั้นแสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสง

เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำ  และพื้นที่สีดำนี้ที่เราเรียกว่า  "เงา"  ถ้าเราฉายแสงไปที่

วัตถุหลาย ๆ ทางก็จะทำให้เกิดเงาของวัตถุขึ้นหลาย ๆ ด้าน



การนำไปประยุกต์ใช้

- ทำให้เรารู้จักการเกิดแสงและเรียนรู้ในเรื่องของการหักเหของแสงเพิ่มมากขึ้น  เรา

สามารถนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น  รวมทั้งสามารถนำการ

ทดลองง่าย ๆ ที่ได้ดูไปจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้เด็กได้อีกกด้วย

ประเมินตนเอง

- วันนี้แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยและตั้งใจเรียนในห้องเป็นอย่าง

มากสามารถสรุปบทความของเพื่อนที่ออกมานำเสนอได้

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนดีช่วยกันตอบคำถามภายในชั้นเรียนเป็นอย่างดี  แต่งกาย

ถูกระเบียบเรียบร้อยดีมาก

ประเมินอาจารย์

- วันนี้อาจารย์แต่งกายสะอาดน่ามอง  มีการอธิบายและยกตัวอย่างในเรื่องที่อาจารย์

อธิบายทำให้เข้าใจง่ายขึ้น  และมีการนำวีดีโอมาใช้ในการเรียนการสอนทำให้ได้รับ

ความรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  9   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้


บทความทางวิทยาศาสตร์


บทความที่ 1 เรื่อง จุดประกายให้เด็กคิดนอกกรอบ   

          ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้นักเรียนเป็นนักทดลองได้ค้นคว้าหาความรู้

ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ด้วยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ โดยให้

นักเรียนหาความรู้ผ่านของเล่นที่นำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาประดิษฐ์ เด็ก ๆ จะได้รับ

วามสนุกได้เรียนรู้และได้คิดนอกกรอบ

     

บทความที่ 2 เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

          1. อ่านหนังสือการ์ตูนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่มีรูปภาพที่เด็กสนใจจะทำให้

เด็กเข้าใจและอยากที่จะเรียนรู้

          2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ หาหนังสือทดลองสำหรับเด็กที่ทำให้เด็กได้

สนุกสนานเกี่ยวกับการทดลอง

          3. พาเด็กเข้าพิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์ที่ให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในการ

ทดลองและได้สัมผัสจริง 



บทความที่ 3  เรื่องวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ

          สสวท.มีการจัดอบรมและมีการเรียนเชิงนักวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

และปฐมวัยมาและกล่าวว่า ควรจัดการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ครูควรจดบันทึก

พฤติกรรมของเด็ก  ครูควรใช้คำถาม ๆ เด็กเพื่อให้เด็กรู้จักใช้คำถามและการหา

คำตอบ


บทความที่ 4 เรื่องเมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์ - คณิตจากดนตรี

          เมื่อนำดนตรีมา ร้อง ( sing) เต้น ( dance ) และใช้คำถามว่าได้อะไรจาก

เพลง ( music ) นี้ เด็กสามารถตอบได้ เช่น ได้ยินเสียงสูง ( relate )  เสียงต่ำ  ( def )  ได้ยิน

จังหวะเร็ว ( fast)  จังหวะช้า ( slow)


บทความที่ 5 เรื่องการจักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

          การจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  ควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เน้นการลงมือ

ปฏิบัติจริง  เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  การใช้เหตุผล  ความคิดสร้างสรรค์สำหรับ

เด็กปฐมวัยช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้มีจินตนาการช่วยให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 

ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ - จิตใจ  ด้านสังคม  ด้านสติปัญญา  และสร้างสรรค์

สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ตามวัย


ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย


ความหมายของวิทยาศาสตร์

          วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ

โดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะ

กระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัย

การสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

     1.การเปลี่ยนแปลง

     2.ความแตกต่าง

     3.การปรับตัว

     4.การพึ่งพาอาศัยกัน

     5.ความสมดุล


การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

     1.ขั้นกำหนดปัญหา

     2.ขั้นตั้งสมมติฐาน

     3.ขั้นรวบรวมข้อมูล

     4.ขั้นลงข้อสรุป


เจตคติทางวิทยาศาสตร์

     1.ความอยากรู้อยากเห็น

     2.ความเพียรพยายาม

     3.ความมีเหตุผล

     4.ความซื่อสัตย์

     5.ความมีระเบียบรอบคอบ

     6.ความใจกว้าง   


การนำไปประยุกต์ใช้

- ทำให้รู้ถึงทักษะเบื้องต้นทางวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมัวยและนำมาปรับใช้ใน

การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนและอาจารย์เป็นอย่างมากและสามารถจดเนื้อหาที่อาจารย์

สอนได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ดูตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาเป็นอย่างดีและยังสามารถ

ช่วยกันตอบคำถามภายในห้องเรียนอีกด้วย

ประเมินอาจารย์

- วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอนเป็นอย่างมากมีการอธิบายในเนื้อหาเพื่อให้สามารถเข้าใจ

และจดจำได้ง่าย

ความรู้เพิ่มเติม


- ทักษะทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  2   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.

กิจกรรมในวันนี้

บทความทางวิทยาศาสตร์


     บทความที่ 1 เรื่องวิทยาศาสตร์และการทดลอง

     บทความที่ 2 เรื่องภารกิจตามหาใบไม้

     บทความที่ 3 เรื่องไม่เล็กของเด็กชายหอบกับการสร้างวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ

     บทความที่ 4 เรื่องการแยกเมล็ด

     บทความที่ 5 เรื่องการทำกิจกรรมการเป่าลูกโปร่ง


คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 - 5 ปี

เด็กอายุ 3 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

     - สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้

     - บอกชื่อตนเองได้

     - ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา

     - สนทนาตอบโต้ / เล่าเรื่องประโยคสั้น ๆ ได้

     - สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ 

เด็กอายุ 4 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

     - จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้

     - บอกชื่อและนามสกุลของตนเอง

     - พยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ

     - สนทนาตอบโต้ / เล่าเรื่องประโยคอย่างต่อเนื่อง

เด็กอายุ 5 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

     - บอกความแตกต่างระหว่างเสียง รส รูปร่าง และหมวดหมู่สิ่งของได้

     - บอกชื่อ นามสกุล และที่อยู่ของตนเองได้

     - พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองได้

     - สนทนาโต้ตอบอย่างเป็นเรื่องราวได้

          
          และอาจารย์ยังได้สอนเกี่ยวกับนักทฤษฎี หลักการ แนวคิดสู่การปฏิบัติและ

พัฒนาเด็ก ซึ่งนักทฤษฏีที่อาจารย์นำมาสอนนั้นมีนักทฤษฎีทั้งหมด 8 คน คือ

     - กีเซล ( Gesell )

     - ฟรอยด์ ( Freud )

     - อีริคสัน ( Erikson )

     - เพีย์เจค์ ( Piaget )

     - ดิวอี้ ( Dewey )

     - สกินเนอร์ ( Skinner )

     - เปสตาลอสซี่ ( Pestalozzi )

     - เฟรอเบล ( Froeble )

          
          หลังจากเรียนเรื่องเกี่ยวกับนักทฤษฎีทั้ง 8 คนไปแล้วนั้น ท้ายคาบของการเรียน

การสอนอาจารย์ได้ให้สรุปความรู้ที่เรียนมาออกมาเป็นแผนผังความคิด ( Mind map ) 


กิจกรรมภายในห้องเรียน


การนำไปประยุกต์

- การนำทฤษฎีต่าง ๆ มาผนวกกันเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง


- วันนี้ตั้งใจเรียนดีและสามารถทำกิจกรรมได้

ประเมินเพื่อน


- วันนี้เพื่อน ๆ ดูตั้งใจเรียนดี จดบันทึกสิ่งที่อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์


- วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอนดีมากมีการนำ Power Point  มาใช้ในการเรียนการสอน

ด้วยทำให้เนื้อหาชัดเจนและเข้าใจง่าย

ความรู้เพิ่มเติม

- หาทฤษฎีเพิ่มเติม

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

 วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  26   สิงหาคม   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.    
   
         
          เนื่องจากวันนี้ไม่ได้เข้าเรียนเพราะว่าไม่สบายจึงไม่สามารถมาเรียนได้ แต่ได้

สรุปความรู้ในเรื่องที่อาจารย์สอน สรุปความรู้ได้

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


          วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน  วิทยาศาสตร์ต้องอาศัย

เครื่องมือในการเรียนรู้ เตรื่องมือในการเรียนรู้ คือ

     - คณิตศาสตร์ < mathematics > เป็นเครื่องมือในการเรียนวิทยาศาสตร์

     - ภาษา < colloquialism >เป็นเครื่องมือในการเรียนและการสื่อสาร

          
          วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับ

สิ่งรอบตัวเด็ก ความพยายามเช่นนี้ติดตัวมาแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติ

รอบตัวของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ 

ที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบได้ การทำความ

ข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเองโดยการสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับ

สิ่่งต่าง ๆ ที่พวกเขาเจอช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ

 เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น


ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็ก

     - ปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถาม

     - ไม่ให้ความสนใจกับการค้นพบแบบเด็ก ๆ

     - ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิดที่ถูกต้องให้

กับเด็กอย่างเหมาะสม


การนำไปประยุกต์ใช้


          เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับ

เด็กปฐมวัยและยังสามารถรู้ถึงปัญหาที่ผู้ใหญ่ไม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็กเพื่อที่จะ

นำมาแก้ไขให้ถูกต้องและสามารถไปส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กปฐมวัยได้


วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 1

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  19   สิงหาคม   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.      



          วันนี้อาจารย์ได้แจกแนวการสอน ( Course   Syllabus ) ในรายวิชาการจัดประสบการณ์

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ( Science Experiences Management for Early 

Childhood )  และอาจารย์ได้บอกถึงข้อตกลงที่ต้องใช้ปฏิบัติรวมกันภายในห้องเรียน

และได้อธิบายถึง


ผลลัพธ์การเรียนรู้
 
     1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

          1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และเสียสละ

          1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

          1.3 เคารพสิทธิ และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

          1.4 เคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของสาขาวิชา คณะ ฯ และมหาวิทยาลัย

          1.5 มีสัมมาคารวะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์ ผู้อาวุธโส

          1.6 ปฏิบัติตนสอดคล้องกับจรรยาบรรณครูปฐมวัย
     
      2. ด้านความรู้

          2.1 อธิบายหลักการ ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทาง

วิทยาศาสตร์ได้

          2.2 วิเคราะห์และเลือกจิตวิทยาการเรียนรู้ที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์ทาง

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม

          2.3 อธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

          2.4 วิเคราะห์และเลือกรูปแบบการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับ

เด็กปฐมัวยได้

          2.5 ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับ

เด็กปฐมวัย

          2.6 วิเคราะห์และเลือก สื่อ อุปกรณ์ ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

สำหรับเด็กปฐมวัยตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อม ( มุมประสบการณ์ ) ได้อย่างเหมาะสม

          2.7 วางแผนประเมินการเรียนรู้สาระและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

          2.8 อธิบายบทบาทของครูและออกแบบการให้ความรู้ปกครองในการส่งเสริม

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

     3.ด้านทักษะทางปัญญา

          3.1 คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ

          3.2 ประยุกต์ความรู้เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัด

ประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสรรค์

          3.3 ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยและ

สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการสนับสนุนหรืออ้างอิงนำไปสู่การ

สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ

          3.4 สรุปองค์ความรู้จากปัญหาและความต้องการนำไปพัฒนาการจัด

ประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

     4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

          4.1 ใช้ภาษาในการสื่อสารและนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

          4.2 ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อพบปัญหา

          4.3 แสดงบทบาทผู้นำ และผู้ร่วมทีมทำงานได้อย่างเหมาะสม

          4.4 รับผิดชอบในผลงานของตนเองและกลุ่ม

          4.5 แสดงความคิดเห็นหรือประเด็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขผลงานทั้ง

ของตนเองและกลุ่มได้

          4.6 พัฒนาองค์ความรู้จากการทดลองและการศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ที่

สร้างเครือข่ายไว้ได้

     5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี

          5.1 มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษษค้นคว้า และ

เรียนรู้ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้

          5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน 

การเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อมานำเสนอได้อย่างเหมาะสม

          5.3 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมี

ประสิทธิภาพ
   
     6.ด้านการจัดการเรียนรู้

          6.1 วางแผน ออกแบบปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อ

พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

          6.2 เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เช่น การศึกษากรณีตัวอย่างจากห้องเรียน 

การสังเกตการสอนแบบต่าง ๆ การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน การสัมภาษณ์หรือ

พูดคุยกับผู้มีประสบการณ์ การทำแผนการสอน การผลิตสื่อประกอบการสอน 

การทดลองสอนและการจัดแหล่งประสบการณ์เรียนรู้ให้กับเด็ก

          

          หลังจากที่อาจารย์ได้ทำข้อตกลงภายในห้องเรียนและอธิบายรายวิชาแล้ว

นั้นอาจารย์ก็ได้ชี้แจงถึงรายละเอียดของการสร้างบล็อกว่ามีองค์ประกอบ ดังนี้

          - เชื่อมโยงบล็อกอาจารย์ผู้สอน

          - หน่วยงานสนันสนุน

          - แนวการสอน

          - งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์

          - บทความ

          - สื่อ ( เพลง , เกม , นิทาน , แบบฝึกหัด  , ของเล่น )

          - สถิติคนเข้าดู

          รวมทั้งภายในบล็อกต้องมีแนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลัง

การเรียนการสอนและการนำไปประยุกต์ใช้ ประเมินตนเอง ประเมินเพื่อนและ

ประเมินผู้สอนด้วย



การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำทักษะทางด้านต่าง ๆ มาปรับใช้กับตนเองเพื่อจะได้พัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง

- วันนี้แต่งตัวเรียบร้อยและตั้งใจฟังอาจารย์ดี

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนดีมาก

ประเมินผู้สอน

- อาจารย์อธิบายในรายละเอียดหัวข้อต่าง ๆ ได้ชัดเจนดีมาก

ค้นคว้าเพิ่มเติม

- มคอ.มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา