วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความและโทรทัศน์ครู

บทความ

          การสอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons) หมายถึง การ

จัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตามสภาพอากาศ 

แต่ละฤดูกาลจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์

ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่

ของอากาศ ในแต่ละภูมิภาคจะมีช่วงฤดู กาลแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทย

มี 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ภาคใต้ของประเทศไทยมีเพียง 

2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึง

ควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับ

ธรรมชาติ การสอนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงถูกบรรจุลงใน

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ เรื่อง

ธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากสภาพจริง

ในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมอื่นๆที่ครูออกแบบตอบสนองความสนใจ

ของเด็ก รวมทั้งพ่อแม่ที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้แก่ลูกเรื่องฤดูกาล

เช่นกัน  บทความเพิ่มเติม


โทรทัศน์ครู

          อาจารย์พงษ์ศักดิ์   แพงคำอ้วนกล่าวว่า  วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ท้าทายความ

สามารถหรือเป็นสิ่งที่นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการ

ทดลอง การสำรวจ สามารถพาเด็กออกไปเรียนรู้ภายนอกได้ ข้อดีของแหล่งเรียนรู้

คือ ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่แนวปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เด็กได้สัมผัส

เช่น ต้นไม้ 1 ต้น ให้เด็กได้สังเกตส่วนประกอบของต้นไม้แล้วสามารถนำไปสอน

ได้ภายในห้องเรียน เป็นต้นโดยการทำกิจกรรมนี้ครูจะให้เด็กได้สังเกตธรรมชาติ

ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะเอาเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ผนวกกับกระบวนการเรียนรู้

Learning By Doing การสร้างฐานเป็น  5 ฐาน คือ  1. ฐานระบบนิเวศน์คือ

2. กลุ่มสิ่งมีชีวิต  3. กลุ่มสิ่งไม่มีชีวิต  4. ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่ง

ไม่มีชีวิต  5. เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ป่าชายเลนจากกิจกรรมทั้ง 5 ฐานนี้จะมี

การเชื่อมโยงความรู้ซึ่งกันและกันและจะทำให้เด็กเกิดความรู้ด้วยตนเอง

 โทรทัศน์ครูเพิ่มเติม

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  2   ธันวาคม   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจรย์ได้ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูออกมานำ

เสนอทั้งหมด







          ในวันนี้ดิฉันก็ได้ออกมานำเสนอวิจัยด้วย ซึ่งวิจัยที่ออกมานำเสนอ คือ 

เรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารกับ

แบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย





          หลังจากที่ทุกคนนำเสนอกันเสร็จแล้วนั้นอาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมอีกหนึ่ง

อย่าง การทำแผ่นพับที่มีหัวข้อว่า " สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน " ซึ่งเป็นกิจกรรม

กลุ่มใช้กลุ่มเดิมคือกลุ่มที่เขียนแผนร่วมกันโดยมีหัวข้อดังนี้

- ชื่อและสัญลักษณ์ของโรงเรียนชื่อเด็กและครูประจำชั้น

- สิ่งที่ต้องการขอความอนุเคราะห์จากท่านผู้ปกครองและวัตถุประสงค์

- สาระน่ารู้เกี่ยวกับหน่วยที่เขียน

- แบบฝึกหัดที่ทำได้ในแผ่นพับ

- เพลง คำคล้องจอง

- ชื่อผู้จัดทำ





การนำไปประยุกต์ใช้

     - เราสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ในเรื่องของงานวิจัยมาใช้ได้ใน

อนาคต ซึ่งอาจารย์สอนในเรื่องของตัวแปรต้นตัวแปรตามว่าคืออะไร การ

เลือกวิจัยที่เหมาะสมและวิธีการทำวิจัยที่ถูกต้อง ทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มเติม

มากยิ่งขึ้น

การประเมินตนเอง

     - วันนี้ตั้งใจเรียนดี สนใจในสิ่งที่อาจารย์สอนและให้ทำกิจกรรมสามารถทำ

กิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้เป็นอย่างดี

การประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนดีมาก สนใจในสิ่งที่อาจารย์บอกสอนและมีการจดบัน

ทึกความรู้ที่ได้รับ

การประเมินอาจารย์

     - อาจารย์สามารถอธิบายความรู้ให้นักศึกษานั้นเข้าใจได้ และสามารถยก

ตัวอย่างที่ง่ายต่อความเข้าใจ และมีกิจกรรมที่นำมาช่วยสอนในเรื่องวิทยา

ศาสตร์ให้กับนักศึกษาถือเป็นการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ

******************************************************************

 สรุปวิจัย

        วิจัยเรื่อง ผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบ

อาหารกับแบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ของวไลพร   พงษ์ศรีทัศน์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการ

ทดลองประกอบอาหารและแบบปกติที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ

เด็กปฐมวัยและเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่

ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารกับวิธีการจัด

ปรสบการณ์แบบปกติ  

นิยามศัพท์เฉพาะ

          1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กอายุ 4 – 5 ปีที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2532 โรงเรียนสาธิตในสังกัดกรมการฝึกหัดครู

          2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติ

และฝึกฝนกระบวนการทางความคิดในการค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหา ซึ่งประกอบ

ไปด้วยทักษะเบื้องต้น 6 ทักษะ ได้แก่

    2.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่าง

ใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายไปสัมผัสโดยตรง

กับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์ที่จะรวบรวมข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่ง

นั้น ๆ 

    2.2 ทักษะการจำแนก หมายถึง ความสามารถในการจัด แบ่ง หรือเรียงลำดับ

วัตถุหรือสิ่งของที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่

    2.3 ทักษะการวัด หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือง่าย ๆ วัดสิ่งต่าง ๆ 

ได้อย่างถูกต้อง โดยใช้หน่วยการวัดที่อาจจะเป็นมาตรฐานหรือไม่มาตรฐานหรือบางครั้ง

อาจไม่มีหน่วยการวัดกำกับก็ได้

              2.4 ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง ความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้จาก

การสังเกต การวัด และการทดลองมาจัดให้สัมพันธ์กันมากขึ้นจนง่ายต่อการแปลความ

หมายและสื่อความหมายให้บุคคลอื่นเข้าใจโดยใช้คำพูดหรือรูปภาพ

              2.5 ทักษะการลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการสรุปความคิดเห็นที่

ได้จากข้อมูล จากการสังเกตหรือการทดลองได้อย่างถูกต้อง

              2.6 ทักษะการหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส

อย่างใดอย่างหนึ่งในการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่าง ๆ เช่น สถานที่ รูปทรง ขนาด 

ตำแหน่ง พื้นที่ เป็นต้น

          3. การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองประกอบอาหาร หมายถึง กิจกรรม

ที่จัดให้ผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทุกด้านในการเรียนรู้ คือ การมองเห็น การสัมผัส 

การชิมรส การดมกลิ่น และการฟัง โดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้างแผนการจัดประสบการณ์ทด

ลองประกอบอาหารขึ้นซึ่งแผนการจัดประสบการณ์นี้ประกอบ

ไปด้วยความคิดรวบยอด เนื้อหา วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมสื่อการเรียน

การสอนและวิธีการประเมินผลสำหรับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมนั้นสามารถแบ่งออก

ได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

    3.1 ขั้นเตรียม เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา ถามคำถาม ตั้งปัญหา 

ใช้เพลงคำคล้องจองหรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ

    3.2 ขั้นปฏิบัติการ นักเรียนปฏิบัติการทดลองประกอบอาหารโดยใช้ประสาท

สัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้

    3.3 ขั้นสรุป โดยครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเพื่อนำไปสู่การสรุปผลที่ได้จาก

การปฏิบัติการ

     4. การจัดประสบการณ์แบบปกติ หมายถึง การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบ

การณ์ตามกระบวนการที่ระบุไว้ในแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ของสำนัก

งานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2530 ฉบับทดลองโดยใช้สื่อการเรียน

และการประเมินผลตามที่ระบุไว้ในแต่ละกิจกรรมในแผนการจัดประสบการณ์ดังกล่าว 

สำหรับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 ระยะดังนี้

    4.1 ขั้นนำ เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการสนทนา ถามคำถาม ตั้งปัญหา

 ใช้เพลงคำคล้องจองหรือสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ

    4.2 ขั้นสอน เป็นการนำเอาวิธีสอนโดยการอธิบาย การเล่านิทาน การศึกษา

นอกสถานที่ การอภิปราย การสาธิต การเล่นเกม และการปฏิบัติการเข้ามาใช้ในการ

ศึกษาข้อมูล

    4.3 ขั้นสรุป เป็นการสรุปผลภายหลังจากการอธิบาย การเล่านิทาน การศึกษา

นอกสถานที่ การอภิปราย การสาธิต การเล่นเกม และการปฏิบัติการโดยครูและนัก

เรียนร่วมกันสนทนาสรุป

5. แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ชุดของข้อคำถาม

และการปฏิบัติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งเป็นคำถามและการปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะกระบวน

การทางวิทยาศาสตร์ลักษณะเป็นปรนัยโดยเลือกตอบจาก 3 ตัวเลือก

สรุปผลการวิจัย

ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติ

การทดลองประกอบอาหารมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัย

ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ ดังนั้นครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องควรได้คัดเลือก

กิจกรรมนำไปใช้ให้เหมาะกับเนื้อหา   วิจัยเพิ่มเติม

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  25   พฤศจิกายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.



กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องของแผนการสอน และถามว่ากลุ่มใดที่ยังไม่เข้า

หรือยังมีปัญหาในเรื่องของการเขียนแผนการสอนให้มาปรึกษาเพื่อทำการปรับปรุง

แก้ไขให้ถูกต้อง จากนั้นอาจารย์ก็ให้นำของเล่นของตนเองมาอีกครั้งเพื่อนำมาจัดหมวดหมู่

เช่น แรงโน้มถ่วง อากาศ แสง เสียง น้ำ  

          หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรมต่อไป คิือ ไอศครีมหวานเย็น





อุปกรณ์ < tool >

1. น้ำหวาน

2. น้ำเปล่า

3. เกลือ

4. น้ำแข็ง

5. กระบวย

6. กรวย

7. ถุงแกง

8. ยางวง

9. หม้อ

10. ช้อน

11. กะละมัง



วิธีทำ < formula >

1. นำน้ำเปล่าและน้ำแดงมาผสมกัน

2. คนให้เข้ากัน

3. แล้วตักน้ำแดงใส่ถุงแกงพอประมาณ

4. จากนั้นนำหนังยางมัดปากถุงให้สนิท

5. แล้วนำใส่หม้อที่เตรียมไว้และนำน้ำแข็งใส่ลงไปในหม้อด้วย

6. แล้วตามด้วยใส่เกลือ

7. ปิดฝาหม้อแล้วหมุนหม้อให้เกลือกับน้ำแข็งผวมกัน

8. ก็จะกลายมาเป็นไอศครีม



          สรุป คือ จากของเหลวกลายเป็นของแข็ง โดยการใส่น้ำแข็งและเกลือ

ลงไป การที่เราใส่เกลือลงไปทำให้น้ำที่อยู่ในถุงด้านล่างมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 

องศาเซลเซียสได้โดยที่ไม่กลายเป็นน้ำแข็งจะทำให้เราสามารถที่จะเขย่าถัง

เพื่อให้ความเย็นเข้าไปสู่น้ำที่อยู่ในถุงให้แข็งกลายเป็นไอศครีมได้


การนำไปประยุกต์ใช้

     - เราสามารถนำไปจัดกิจกรรมภายในห้องเรียนได้

การประเมินตนเอง

     - วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน

การประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ สนุกสนานกับการทำกิจกรรมภายในห้องเรียน

การประเมินอาจารย์

     - อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ทุกเรื่อง แต่อาจารย์มีความ

เป็นกันเองทำให้นักศึกษาไม่เกร็ง และบรรยากาศภายในห้องเรียนก็สนุกสนาน

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  19   พฤศจิกายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.



กิจกรรมในวันนี้

          ในวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงวิธีการสรุปวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

ปฐมวัยว่าสิ่งที่จะนำมาเสนอนั้นต้องมีอะไรบ้าง โดยหัวข้อที่อาจารย์นั้นกำ

หนดให้มีดังนี้

     1. บอกถึงจุดประสงค์ของงานวิจัยว่าสิ่งที่ต้องการแก้ไขหรือทำการพัฒนา

เกี่ยวกับกับจัยคือสิ่งใด โดยยกมาจากคำนิยามว่ามีอะไรบ้าง

     2. วิธีการดำเนินวิจัย

     3. ผลของการวิจัย

          ส่วนโทรทัศน์ครูถ้าหาไม่ได้ก็สามารถหาจากคลิปอื่น ๆ ที่มีการสอนเกี่ยว

กับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยถึงชั้นประถมศึกษาต้นก็ได้ และสรุปใจความ

สำคัญตามหัวข้อดังต่อไปนี้

     1. โทรทัศน์ครูที่นำมานั้นส่งเสริมหรือแก้ไขในเรื่องใด

     2. แล้วใช้วิธีใด

     3. แล้วมีวิธีการอย่างไรในการสอน


          หลังจากที่อาจารย์ได้ชี้แจงเสร็จสิ้นแล้วอาจารย์ก็ได้ให้แบ่งกลุ่มใหญ่ 3 

กลุ่มเพื่อทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาให้นั่นก็คือ การทำขนมวอฟเฟิล 

< Waffle > และอาจารย์ก็มีการสาธิตวิธีการทำขนมเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับ

นักศึกษาก่อนที่จะลงมือทำเพื่อที่จะออกมาดีที่สุด


อาจารย์สาธิตวิธีการทำ






อุปกรณ์ < tools >

1. แป้ง < flour>

2. น้ำ < water >

3. ไข่ไก่ < egg >

4. ที่ตีไข่ 

5. นมสด < fresh milk >

6. ช้อน < spoon >

7. ถ้วย < cup >

8. เนย <  butter >

9. เตาทำวาฟเฟิล 


วิธีการทำ < formula >

1. ผสมแป้งกับน้ำแล้วคนให้เข้ากัน



2. เมื่อเข้ากันแล้วก็ผสมไข่ไก่ 1 ฟองลงไปแล้วตีให้เข้ากัน



3. เมื่อเข้ากันแล้วให้ใช้ช้อนตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก



4. ทาเนยลงบนเตาแล้วจากนั้นก็นำวาฟเฟิลจากถ้วยเทลงบนเตาทำขนมจนเต็มพิมพ์





5. จากนั้นก็ปิดฝารอให้แป้งวาฟเฟิลสุก



6. เมื่อวาฟเฟิลสุกด้านหนึ่งแล้วก็เปิดเตาแล้วกลับแผ่นวาฟเฟิลนำเนยทา



7. แล้วรอจนวาฟเฟิลสุกเรียบร้อย น่ารับประทาน




          หลังจากทำกิจกรรมการทำขนมวาฟเฟิล < waffle > เสร็จแล้วก็มีการนำ

เสนอแผนการจัดประสบการณืในหน่วยดิน และหน่วยสับปะรดเพิ่มเติมจากสัปดาห์

ที่แล้ว รวมทั้งการนำเสนอโทรทัศน์ครูเรื่องของเล่นของใช้ด้วย




การนำไปประยุกต์ใช้

     - ทำให้เราได้ประสบการณ์เพิ่มเติมในเรื่องการจัดประสบการณ์ทาง

วิทยาศาสตร์โดยการลงมือทำขนม < cooking > เราสามารถนำประสบการณ์

ตรงนี้ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยได้ 

การประเมินตนเอง

     - วันนี้ได้ร่วมกิจกรรมกับอาจารย์และเพื่อน ๆ ภายในห้องเรียนทำกิจกรรม

อย่างตั้งใจได้เรียนรู้วิธีการทำและได้รับคำแนะนำจากอาจารย์จึงเป็น

ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดี

การประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี อีกทั้งยังให้ความร่วมมือในการ

ทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

การประเมินอาจารย์

     - วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้ในเรื่องการทำขนมวาฟเฟิล < Waffle > และใน

เรื่องของแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มเติม

มากยิ่งขึ้น

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 12

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  11   พฤศจิกายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.




กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มที่

เหลือที่ยังไม่ได้นำเสนอ ส่วนวิจัยและโทรทัศน์ครูอาจารย์ให้นำเสนอ

ในอาทิตย์ถัดไป ซึ่งกลุ่มที่ออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์

มีดังนี้


หน่วยสับปะรด < Pineapple >




หน่วยส้ม < Orange >



หน่วยทุเรียน < Durian >



หน่วยมด < Ant >



หน่วยดิน < Ground >



หน่วยน้ำ < Water >

การทดลอง







          จากนั้นหลังจากทำกิจกรรมการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์เสร็จแล้ว

ก็มีการประกอบอาหารในหน่วยไข่เพิ่มเติม คือ ไข่ทาโกยากิซึ่งอุปกรณ์ เครื่อง

ปรุง และวิธีการทำดังนี้


อุปกรณ์และเครื่องปรุง


ตีไข่

ใส่เครื่องปรุง


ใส่กระทะทาโกยากิ


ลงมือทำ


ไข่ทาโกยากิ

       
          หลังจากทำกิจกรรมเสร็จสิ้นทั้งหมดแล้วอาจารย์ก็ทำการสรุปแผน

การจัดประสบการณ์ทั้งหมด และอาจารย์ก็มีการให้ความรู้  คำแนะนำ

เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นให้เหมาะสมที่จะนำไปจัด

ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย



การนำไปประยุกต์ใช้

     - เราสามารถนำแผนการจัดประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ ที่เพื่อนนำมาเสนอ

นั้น รวมทั้งวิธีการทำกิจกรรมมาปรับใช้ได้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับ

เด็กได้

การประเมินตนเอง

     - วันนี้กลุ่มของดิฉันได้ออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ในหน่วย น้ำ

ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีการเตรียมตัวในการสอนมาเป็น

อย่างดีสามารถทำการทดลองได้ตามที่ตั้งใจกันไว้ ซึ่งกลุ่มของพวกเราทำอย่าง

เต็มที่ที่สุด

การประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ ทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนเป็น

อย่างดี ซึ่งบรรยากาศภายในห้องเรียนก็สนุกสนาน ผ่อนคลายทุกคนได้ร่วมมือกัน 

ได้ทำงานร่วมกัน ได้ช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทำให้พวกเราได้เรียนรู้ความ

รักความสามัคคีกันภายในห้องเรียน

การประเมินอาจารย์

     - วันนี้อาจารย์ได้มีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนของแต่ละกลุ่มทั้งใน

เรื่องของเนื้อหาการสอน วิธีการนำเสนอ และอื่น ๆ อีกมากมายทำให้เราได้

รับความรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 11

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  4   พฤศจิกายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการสอนตามวันที่

ตนเองได้รับมอบหมายซึ่งแต่ละได้เตรียมอุปกรณืที่ใช้ในการสอนมาด้วย

ซึ่งวันนี้มีการนำเสนอดังนี้



หน่วยไข่ < Egg >






หน่วยกล้วย < Banana >





หน่วยกบ < Frog >






หน่วยข้าว < Rice >





          ในการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ในเรื่องต่าง ๆ ครั้งนี้ยังมีข้อ

ผิดพลาดอยู่บ้างเล็กน้อยอาจจะเป็นเพราะเป็นการนำเสนอในครั้งแรกเลยทำ

ให้ยังเกิดข้อผิดพลาดอยู่บ้างซึ่งอาจารย์ก็มีการให้เหตุผลในการแก้ไขของ

แต่ละกลุ่มคำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ ของแต่ละกลุ่มที่ควรนำไปปรับปรุงแก้ไข

และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อนำไปเป็นประสบการณ์ได้ในอนาคตต่อไป



การนำไปประยุกต์

     - เราได้เรียนรู้ถึงเทคนิควิธีการสอนในหน่วยต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ แต่ละกลุ่ม

ที่มีรูปแบบการสอนที่แตกต่างกันมีการนำเข้าสู่บทเรียนหรือการดึงดูดความ

สนใจของเด็กที่แตกต่างกันทำให้เราสามารถนำไปปรับใช้ภายในกลุ่มของ

เราเพื่อให้เหมาะสมกับหน่วยของเราเองได้


การประเมินตนเอง

     - วันนี้ตั้งใจฟังในสิ่งที่เพื่อนนำเสนอเป็นอย่างดี ได้เรียนรู้ถึงการสอนใน

รูปแบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของเพื่อนทำให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้น


การประเมินเพื่อน

     - วันนี้กลุ่มที่ต้องออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของตนเองนั้น

เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของ

อุปกรณ์และวิธีการนำเสนอทำให้เห็นถึงการวางแผน ความตั้งใจของเพื่อน

และการเตรียมตัวของเพื่อน


การประเมินอาจารย์

     - วันนี้อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ เป็นอย่างดีทั้งในเรื่องของ

การนำเสนอแผนการจัดประสบการณืของเพื่อนแต่ละกลุ่ม เรื่องอุกรณ์ที่เตรียม

มาสอน เรื่องเทคนิควิธีการนำเข้าสู่บทเรียน เรื่องการวางแผนการสอน และ

อื่น ๆ เป็นต้น ทำให้เรามีความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นและสามารถ

นำมาปรับปรุงและปรับใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มของตนเองได้