วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  9   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้


บทความทางวิทยาศาสตร์


บทความที่ 1 เรื่อง จุดประกายให้เด็กคิดนอกกรอบ   

          ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้นักเรียนเป็นนักทดลองได้ค้นคว้าหาความรู้

ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ ด้วยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ โดยให้

นักเรียนหาความรู้ผ่านของเล่นที่นำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวมาประดิษฐ์ เด็ก ๆ จะได้รับ

วามสนุกได้เรียนรู้และได้คิดนอกกรอบ

     

บทความที่ 2 เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

          1. อ่านหนังสือการ์ตูนที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่มีรูปภาพที่เด็กสนใจจะทำให้

เด็กเข้าใจและอยากที่จะเรียนรู้

          2. ทำการทดลองอย่างง่าย ๆ หาหนังสือทดลองสำหรับเด็กที่ทำให้เด็กได้

สนุกสนานเกี่ยวกับการทดลอง

          3. พาเด็กเข้าพิพิธภัณฑ์เชิงปฏิสัมพันธ์ที่ให้ผู้เข้าชมมีส่วนร่วมในการ

ทดลองและได้สัมผัสจริง 



บทความที่ 3  เรื่องวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ

          สสวท.มีการจัดอบรมและมีการเรียนเชิงนักวิชาการเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

และปฐมวัยมาและกล่าวว่า ควรจัดการเรียนรู้แบบธรรมชาติ ครูควรจดบันทึก

พฤติกรรมของเด็ก  ครูควรใช้คำถาม ๆ เด็กเพื่อให้เด็กรู้จักใช้คำถามและการหา

คำตอบ


บทความที่ 4 เรื่องเมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์ - คณิตจากดนตรี

          เมื่อนำดนตรีมา ร้อง ( sing) เต้น ( dance ) และใช้คำถามว่าได้อะไรจาก

เพลง ( music ) นี้ เด็กสามารถตอบได้ เช่น ได้ยินเสียงสูง ( relate )  เสียงต่ำ  ( def )  ได้ยิน

จังหวะเร็ว ( fast)  จังหวะช้า ( slow)


บทความที่ 5 เรื่องการจักการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย

          การจัดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  ควรเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เน้นการลงมือ

ปฏิบัติจริง  เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์  การใช้เหตุผล  ความคิดสร้างสรรค์สำหรับ

เด็กปฐมวัยช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ได้มีจินตนาการช่วยให้เด็กได้พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 

ทั้งด้านร่างกาย  ด้านอารมณ์ - จิตใจ  ด้านสังคม  ด้านสติปัญญา  และสร้างสรรค์

สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ตามวัย


ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย


ความหมายของวิทยาศาสตร์

          วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ

โดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยวิธีการทักษะ

กระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัย

การสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทาง

วิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน


แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

     1.การเปลี่ยนแปลง

     2.ความแตกต่าง

     3.การปรับตัว

     4.การพึ่งพาอาศัยกัน

     5.ความสมดุล


การศึกษาวิธีการทางวิทยาศาสตร์

     1.ขั้นกำหนดปัญหา

     2.ขั้นตั้งสมมติฐาน

     3.ขั้นรวบรวมข้อมูล

     4.ขั้นลงข้อสรุป


เจตคติทางวิทยาศาสตร์

     1.ความอยากรู้อยากเห็น

     2.ความเพียรพยายาม

     3.ความมีเหตุผล

     4.ความซื่อสัตย์

     5.ความมีระเบียบรอบคอบ

     6.ความใจกว้าง   


การนำไปประยุกต์ใช้

- ทำให้รู้ถึงทักษะเบื้องต้นทางวิทยาศาสร์สำหรับเด็กปฐมัวยและนำมาปรับใช้ใน

การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงอายุ

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจฟังเพื่อนและอาจารย์เป็นอย่างมากและสามารถจดเนื้อหาที่อาจารย์

สอนได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ดูตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกเนื้อหาเป็นอย่างดีและยังสามารถ

ช่วยกันตอบคำถามภายในห้องเรียนอีกด้วย

ประเมินอาจารย์

- วันนี้อาจารย์ตั้งใจสอนเป็นอย่างมากมีการอธิบายในเนื้อหาเพื่อให้สามารถเข้าใจ

และจดจำได้ง่าย

ความรู้เพิ่มเติม


- ทักษะทางวิทยาศาสตร์มีอะไรบ้าง

1 ความคิดเห็น:

  1. ศึกษาแนวการสอนนะคะว่าครูประเมินอะไรบ้างBlog ครั้งที่4แล้วครูจะไม่บอกรายละเอียดในBlogนะคะ
    รีบปรับปรุงด่วน
    การสรุปมีความรู้ การประยุกต์ใช้แล้วยังมีอะไรอีกคะ รีบทำให้ครบ
    ควรมีข้อมูลของบทความที่เพื่อนนำเสนอบ้างนะคะ
    คำศัพท์ภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามข้อตกลงนะคะ
    ตัวหนังสือปรับอย่างไรให้น่าอ่านนะคะ

    ตอบลบ