วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  16   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.



กิจกรรมในวันนี้


บทความทางวิทยาศาสตร์


     บทความที่  1  เรื่องสอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ

          ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติสำคัญกับเด็กคือเกิดผลกระทบกับเด็ก  

ดังนั้นการที่เด็กเรียนรู้เื่องปรากฏการณ์ทางธรรมชาติจะทำให้เด็กรู้จัก

อนุรักษ์ธรรมชาติและรักษาสมดุลทางธรรมชาติให้สมบูรณ์  และทำให้

เด็กได้ฝึกฝนทักษะการสังเกต ( observation ) การอธิบาย ( explain )

การเปรียบเทียบ ( compare ) การปฏิบัติ ( parctice )


บทความที่  2  เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          เด็กชอบใช้คำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว  เช่น ดิน ( soil )

หิน ( stone ) อากาศ ( climate )  การแก้ไขปัญหาต้องใช้กระบวนการทาง

วิทยาศาสตร์  การสังเกต  การจำแนก  เรียงลำดับ  การวัด  การคาดคะเน

ขอบเขตของการเรียนสามารถจัดกลุ่มได้  4  กลุ่มตามหลักสูตร



          วันนี้อาจารย์ได้ให้ฟังเพลงที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งสรุปได้ว่าเนื้อเพลง

เกี่ยวกับการคิด  การทดลอง  การพิสูจน์  เพื่อรับรู้ความจริงถ้าอยากให้เกิดทักษะ

ต้องลงมือกระทำจริง 


ความลับของแสง


          แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่สั้นมากแต่เคลื่อนที่ได้เร็วมาก  300,000  กม./วินาที

ถ้าเราสามารถวิ่งได้เร็วเท่าแสงเราสามารถวิ่งรอบโลกได้  7  รอบ  ภายใน 1 วินาที

ที่เราสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ใช่เพราะแสงส่องลงมาโดนวัตถุแต่เพียง

อย่างเดียวแต่แสงต้องสะท้อนกับวุตถุนั้นเข้าสู่ตาของเราด้วยเราถึงจะมองเห็น

วัตถุนั้นเท่ากับว่าตาของเราก็คือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั่นเอง


คุณสมบัติของแสง


          1.แสงเดินทางเป็นเส้นตรงอย่างเดียวไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง   ในโลกนี้

มีวัตถุอยู่  3  แบบ  คือ  วัตถุโปร่งแสง  วัตถุโปร่งใส  และวัตถุทึบแสง

วัตถุโปรงแสง  แสงจะทะลุได้แค่บางส่วนทำให้มองวัตถุไม่ค่อยชัดเจน

แต่วัตถุโปร่งใสแสงสามารถผ่านไปได้ทั้งหมดทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุ

นั้นได้ชัดเจน  ส่วนวัตถุทึบแสงจะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้แล้วก็จะสะท้อนแสงส่วน

ที่เหลือเข้าสู่ตาของเราซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลก  เช่น  ไม้  หิน  เหล็ก

       
          2.การสะท้อนของแสง  เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุต้องพุ่งไปยังทิศทางตรงกัน

ข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอด  เพราะลำแสงที่สัมผัสกับพื้นผิวของ

วัตถุแล้วสะท้อนกลับนั้นจะเป็นมุมที่เท่ากันกับลำแสงที่ส่องลงมาเสมอ

การสะท้อนของแสงนอกจากจะทำให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วการสะท้อนแสงยัง

สามารถนำมามองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูง ๆ ได้เพราะแสงสะท้อนจาก

กระจกทั้งสองบานมาเข้าสู่ตาเราทำให้เรามองเห็นของที่อยู่สูง ๆ ได้นั่นเอง


หลักการหักเหของแสง


          แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกันเลยทำให้เกิดการหักเหของ

แสง  การหักเหของแสงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์เลนส์ที่ถูกทำหน้า

ผิวหน้าโค้งนูนขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้ในการรวมเส้นทางเดิน

ของแสงได้ด้วยเสนส์นูน  นอกจากจะรวมแสงได้แล้วยังสามารถจุดไฟได้ด้วย

เพราะเมื่อเลนส์นูนรวมแสงเป็นจุดเดียวกันแล้วความร้อนที่มาจากแสงก็จะรวมเป็น

จุดเดียวกันด้วยซึ่งความร้อนนั้นก็มากพอที่จะเผาไหม้กระดาษได้

          การหักเหของแสงนอกจากจะทำให้เรามองเห็นได้ชัดเจนขึ้นแล้วยังทำให้เรา

ได้เห็นวิวและสีสันสวย ๆ ได้  เช่น  หังจากฝนตกเราจะเห็นรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้าซึ่ง

รุ้งกินน้ำนั้นก็เกิดจาการหักเหของแสง  ปกติแล้วแสงสีขาวที่เราเห็นกันจะประกอบด้วย

สีต่าง ๆ ถึง  7  สี  คือ  สีม่วง  สีคราม  สีน้ำเงิน  สีเขียว  สีเหลือง  สีแสด  สีแดง

เมื่อรวมกันแล้วก็จะกลายเป็นสีขาว  แต่หลังจากฝนตกใหม่ ๆ จะมีละอองน้ำในอากาศ

เมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสงและสีต่าง ๆ ในแสงจะมี

ความเร็วในการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน  ดังนั้นเมื่อมันส่องผ่านละอองน้ำจำนวนมากใน

อากาศจึงเกิดการหักเห ผลที่ตามมา  คือ  แสงสีขาวจะแยกตัวเป็นสีเดิมของมัน

ทั้ง  7  สีที่เรียกว่า  แถบสเปกตรัมของแสง  แสงทั้ง  7  สีเมื่อรวมตัวเข้าด้วยกัน

แล้วจะกลายเป็นสีขาว  แสงสีต่าง ๆ ก็เป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้เรามองเห็น

วัตถุมีแสงสีต่าง ๆ ด้วย เพราะวัตถุต่างมีสีในตัวของมัน  ดังนั้นวัตถุแต่ละชนิด

ก็จะมีความสามารถในการสะท้อนแสงและการดูดกลืนแสงสีได้แตกต่างกัน

เมื่อมีแสงมาตกกระทบวัตถุก็จะดูดกลืนแสงสีบางสีเอาไว้และสะท้อนแสงสีที่เป็นแสง

สีเดียวกันกับวัตถุออกมา  เช่น  ใบไม้จะดูดกลืนแสงสีอื่นเอาไว้แล้วสะท้อนแสงที่เป็น

สีเดียวกันกับวุตถุ  คือ  สีเขียวออกมาทำให้เราเห็นใบไม้เป็นสีเขียว




รุ้งกินน้ำ




แถบสเปกตรัม


          เงาก็เกิดจากแสงซึ่งจะเกิดจากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อย ๆ เมื่อมี

วัตถุเข้ามาขวางทางเดินของแสงไว้พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืนและสะท้อนแสง

บางส่วนออกมาแต่พื้นที่่ด้านหลังของวัตถุนั้นแสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสง

เกิดขึ้นจึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำ  และพื้นที่สีดำนี้ที่เราเรียกว่า  "เงา"  ถ้าเราฉายแสงไปที่

วัตถุหลาย ๆ ทางก็จะทำให้เกิดเงาของวัตถุขึ้นหลาย ๆ ด้าน



การนำไปประยุกต์ใช้

- ทำให้เรารู้จักการเกิดแสงและเรียนรู้ในเรื่องของการหักเหของแสงเพิ่มมากขึ้น  เรา

สามารถนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ง่ายขึ้น  รวมทั้งสามารถนำการ

ทดลองง่าย ๆ ที่ได้ดูไปจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้เด็กได้อีกกด้วย

ประเมินตนเอง

- วันนี้แต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบของมหาวิทยาลัยและตั้งใจเรียนในห้องเป็นอย่าง

มากสามารถสรุปบทความของเพื่อนที่ออกมานำเสนอได้

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนดีช่วยกันตอบคำถามภายในชั้นเรียนเป็นอย่างดี  แต่งกาย

ถูกระเบียบเรียบร้อยดีมาก

ประเมินอาจารย์

- วันนี้อาจารย์แต่งกายสะอาดน่ามอง  มีการอธิบายและยกตัวอย่างในเรื่องที่อาจารย์

อธิบายทำให้เข้าใจง่ายขึ้น  และมีการนำวีดีโอมาใช้ในการเรียนการสอนทำให้ได้รับ

ความรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น