วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  23   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้


          วันนี้อาจารย์พูดถึงเกี่ยวกับในเรื่องของบล็อกว่าต้องปฎิบัติอย่างไรและให้

ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  วิธีการเรียนรู้

คือวิธีการที่เด็กเปลี่ยนแปลงการกระทำ  พัฒนาการ  คือ  การบอกถึงความสามารถ

ของเด็กในแต่ละช่วงอายุรวมทั้งคุณลักษณะของเด็กด้วย


กิจกรรมภายในห้องเรียน

1. กระดาษ  < paper >

2. ไม้ < stick >

3. กรรไกร  < scissore>

4. กาว  < giue >

5. ดินสอ  < pencil >

6. สี  < color >



วิธีการทำ

1. ตัดกระดาษที่อาจารย์แจกให้แบ่งเป็น 2 ส่วน


กิจกรรมภายในห้องเรียน
  

กิจกรรมภายในห้องเรียน
   


จะได้รูปแบบนี้


กิจกรรมภายในห้องเรียน


2. จากนั้นนำเศษกระดาษที่เหลือจากการตัดมาพับประกบเข้าหากัน

3. วาดเป็นรูปของ 2 สิ่งที่สัมพันธ์กัน


กิจกรรมภายในห้องเรียน


4. ให้ระบายสีให้สวยงาม

5. จากนั้นนำไม้มาติดไว้ตรงกลางของกระดาษฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

6. นำกระดาษที่ติดไม้เสร็จแล้วมาพับเข้าหากันและทากาวให้เรียบร้อย



กิจกรรมถายในห้องเรียน


          
บทความทางวิทยาศาสตร์


บทความที่ 1 เรื่องสอนลูกเรื่องพืช

       
          พืชเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการ

ทั้ง  4  ด้านได้

          ด้านร่างกาย

     - การได้เคลื่อนไหวตามต้นไม้ที่โอนเอน  พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  เช่น

แขน  ขา  การทรงตัว

          ด้านอารมณ์

     - ให้เด็กได้รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์  ความรู้สึก  ได้เห็นดอกไม้ที่โอนเอน

อ่อนไหวไปมา

          ด้านสังคม

     - เด็กได้เรียนรู้เรื่องเรื่องผักได้ประกอบอาหารกับเพื่อน ๆ เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์

กับเพื่อนร่วมห้อง

          ด้านสติปัญญา

     - ได้จัดกิจกรรมให้เด็กได้ปลูกต้นไม้ได้วัดส่วนสูงของพืชแต่ละชนิด  ได้นับจำนวน

ของดอกไม้  ได้จำแนกพืช  ครูส่งเสริมเด็กจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น  การเรียง

ลำดับผักส่งเสริมทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  ประเด็นทางวิทยาศาสตร์

ในด้านสติปัญญามีการแก้ปัญหาในการวัดระยะของต้นไม้



บทความที่  2  เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน


          การสร้างเจตคติที่ดีให้กับเด็ฏโดยผ่านการเรียนรู้ต่าง ๆ การใช้นิทานมาเป็น

สื่อช่วยสอนทางวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์  ได้รู้จักเชื่อมโยงนิทานกับ

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  เทคนิคในการเลือกควรเลือกที่เขาชอบ  ควรมีสีสัน

เนื้อหาไม่ยาว  มีการใช้โทนเสียงต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ นิทาน

ช่วยให้เด็กเห็นภาพในเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่าย  นิทานเป็นสื่อที่เด็กชอบเพราะเป็น

เรื่องราวขึ้นอยู่กับผู้ที่นำเสนอมีตัวละครใกล้ตัวสั้น ๆ ง่าย ๆ ทำให้มีการใช้นิทาน

เป็นสื่อในการบูรณาการความรู้เข้าไป  เพลงนั้นต้องมีจังหวะ  ทำนอง  ใช้เนื้อหาให้

เข้ากับจังหวะ  ทำนอง  แต่นิทานสามารถใส่เนื้อหาได้เลยไม่ต้องมีจังหวะทำให้เป็น

เรื่องง่ายในการสอน



บทความที่  3  เรื่องแนวทางการเติมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาล


          เด็กจะคอยซักถาม  อยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ รอบตัวแต่ผู้ใหญ่ไม่ค่อย

ให้ความสนใจทำให้เด็กไม่มีการพํมนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์  แนวทางการสอน

คือ  สิ่งสำคัญความแม่นยำของครูจะทำให้เด็กมีพัฒนาการและการลงมือปฏิบัติจริง

จะทำให้เด็กได้ประสบการณ์  ครูต้องบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอน

ให้เด็กได้เรียนรู้เป็นองค์รวม  เรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัวเด็ก  ถ้าครูไม่มีความรู้อย่า

ตอบคำถามเพื่อปิดกั้นความคิดของเด็กแต่ควรหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน


          แนวทางการปฏิบัติในการสืบเสาะความรู้เด็ก


1. ตั้งคำถาม

2. หาคำตอบโดยครูให้ความสะดวก

3. ดูถึงผลของคำตอบว่าถูกไหมและเสริมเติมความรู้เพิ่ม

4. นำเสนอถึงผล

5. นำสิ่งที่นำเสนอนั้นไปเชื่อมโยงกับหลักวิทยาศาสตร์



บทความที่  4  เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์สนุก ๆ สำหรับคุณหนู ๆ


          วิทยาศาสตร์จะกระตุ้นความรู้ของเด็ก  การทดลองจะส่งเสริมความคิดของเด็ก

การพาเด็กไปในที่ที่สามารถช่วยให้เด็กได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นการเปิด

โลกทัศน์ให้กับเด็กได้เช่นกัน  และยังสามารถทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่

สามารถทำได้ที่บ้านด้วย  การพาเด็กออกไปเปิดโลกจะช่วยทำให้เด็กเกิดความสนใจ

และตื่นเต้นกับประสบการณ์ใหม่ ๆ



          หลังจากทำกจกรรมภายในห้องเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มนำงาน

ที่ได้รับมอบหมายเป็นงานกลุ่มที่ให้กลับไปทำตั้งแต่คาบเรียนที่แล้วออกมาติดหน้า

ห้องเพื่อให้เพื่อน ๆ ในห้องได้เห็นถึงผลงานของแต่ละกลุ่ม  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้

นำเสนอในเรื่องของน้ำ


Mind  Map


การนำไปประยุกต์

- สามารถนำงานประดิษฐ์ที่อาจารย์ได้สอนในห้องไปต่อยอดและนำมาจัดกิจกรรม

ให้กับเด็กได้ฝึกในเรื่องของการคิดสร้างสรรค์และพัฒนาความคิดของตนเอง

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้เป็นอย่างดี  

แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ดูตั้งใจเรียนและตั้งใจประดิษฐ์ของเล่นของตนเองเพื่อให้ออกมา

สวยงามและตรงตามที่ตั้งใจไว้ 

ประเมินอาจารย์

- วันนี้อาจารย์แต่งกายได้น่ามอง สะอาดและดูดี  รวมทั้งอาจารย์ยังได้มีการ

สอดแทรกสิ่งประดิษฐ์มาให้ได้ร่วมกันทำภายในห้องเรียนถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดี 

ง่าย และสามารถนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้จริง ๆ และยังทำให้นักศึกษาได้

ผ่อนคลายอารมณ์จากการประดิษฐ์ชิ้นงานอีกด้วย  นอกจากนี้อาจารย์ยังได้มีการ

แนะนำการทำ Mind  Map ของแต่ละกลุ่มให้ฟังทำให้ได้เห็นถึงข้อบกพร่องของ

ชิ้นงานและนำคำแนะนำนี้ไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป



ค้นคว้าเพิ่มเติม

         ดิวอี้มีปรัชญาที่สะท้อนออกมาเด่นชัดในเรื่องของการศึกษาที่ยกย่อง

ประสบการณ์สำหรับผู้เรียนเน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สถานการณ์ที่เป็นจริง เพราะ

การศึกษาตามความคิดของจอห์น  ดิวอี้  คือ  ความเจริญงอกงามทั้งทางด้าน

ร่างกาย  สติปัญญา  และคุณธรรม  ดังนั้นกระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์

ใหม่ที่ต่อเนื่องกับประสบการณ์เก่าเรื่อยไปต้องส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ใหม่

เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในปัจจุบันและอนาคตได้


ผลจากการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น  ดิวอี้  ดังนี้

     1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่

หลากหลายและสื่อที่เร้าความสนใจ

     2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ  ตามความถนัดและตามศักยภาพด้วยการ

ศึกษาค้นคว้า  ฝึกปฏิบัติ  ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความ

เชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจเหตุให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

     3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์เกิดกระบวนการ

ทำงาน  เช่น  มีการวางแผนการทำงาน  มีความรับผิดชอบเสียสละเอื้อเฟื้อ

เผื่อแผ่  มีวินัยในตนเอง  มีฟฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตยเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

     4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจาการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจาก

ประเด็นคำถามของผู้สอนสามารถค้นหาคำตอบและวิธีการได้ด้วยตนเอง

สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล

     5. ทุกขั้นตอนจาการทำกิจกรรมจะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อ

ให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้

     6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานโดย

ให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนไม่นำผลงานของผู้เรียนมา

เปรียบเทียบกัน



บิดาแห่งปฐมวัย

          เฟรอเบล  นักการศึกษาชาวเยอรมันและผู้นำการศึกษาอนุบาล  ผู้ได้รับ

ขนานามว่าเป็น  "บิดาการศึกษาอนุบาล"  เเฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถ

สำหรับสิ่งดีงามและความรู้มาตั้งแต่เกิดการเรียรที่ดีต้องให้เด็กมีประสบการณ์ที่เด็ก

สามารถได้เล่นได้แสดงออกได้สืบเสาะค้นคว้าประสบการณ์ที่จัดให้เด็กนั้นต้อง

สะท้อนระดับพัฒนาการ  ความสนใจการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเข้าใจของ

เด็กอย่างชัดเจน  เด็กควรได้นับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน  โดย

เฉพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดีสำหรับเด็ก  คือ  การเล่น



เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว

          จอห์  ล็อก ( John  Lock ) ถือเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาสมัยใหม่  ทั้งนี้เนื่องจาก

ทฤษฏีทางการศึกษาของเขามีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์  การ

ศึกษาจิตใจและการเรียนรู้  ล็อคมีความเชื่อว่า  เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด

( clean  slate )  เด็กจะเติบโตมาเป็นบุคคลเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับปรสบการณ์ที่ได้รับ

จากพ่อแม่  สังคม  การศึกษาและโลกรอบตัว  ล็อคเป็นนักการศึกษาชาวยุโรปใน

ยุคแรกที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น