วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  30   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้ประดิษฐ์ของเล่น  2  ชิ้น  คือ  ลูกยางจากกระดาษและ

ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู

     สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่  1  ลูกยางจากกระดาษ  ซึ่งของเล่นชิ้นนี้มีลักษณะวิธีการ

เล่นคล้ายกับลูกยาง



กิจกรรมถายในห้องเรียน


กิจกรรมถายในห้อง


อุปกรณ์ < tools >

     1. กระดาษ  < paper >

     2.  คลิบหนีบกระดาษ  < paperclip >

     3. กรรไกร  < scissors


ขั้นตอนการทำ < step >

     1. ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า

     2. ให้พับครึ่งของกระดาษ

     3. จากนั้นให้พับหัวกระดาษฝั่งใดฝั่งหนึ่งเข้ามาประมาณ  1  เซนติเมตร

     4. และหลังจากนั้นก็เอาคลิปหนีบกระดาษมาหนีบทับตรงกลางของรอยที่พับ

     5. เสร็จแล้วก็ลองเล่นได้เลย


วิธีการเล่น

     ให้กางกระดาษที่ตัดไว้คนละฝั่งและลองโยนขึ้นไปให้สูงและปล่อยให้มันลอย

ลงมาสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




     สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่  2  ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู     


กิจกรรมภายในห้องเรียน


กิจกรรมภายในห้องเรียน


อุปกรณ์ < tools >

     1. แกนกระดาษทิชชู < tissue  cores >

     2. ไหมพรหม < yarn > 

     3.กระดาษ < paper >

     4. สี < color >

     5. กรรไกร < scissors >

     6. กาว < glue >


ขั้นตอนการทำ < step >

     1. นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดแบ่งครึ่งเป็น  2  ชิ้น

     2. จากนั้นเจาะรูที่แกนกระดาษทิชชูเป็น 2 รูที่ขนานกัน รวมกันเป็น 4 รู

     3. จากนั้นนำไหมพรหมมาร้อยใส่ในรูที่เจาะไว้ทั้งหมดให้ความยาวพอ

         ประมาณแล้วผูกปลายเชือกให้ติดกัน

     4. ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมให้พอดีกับแกนทิชชู

     5. แล้ววาดรูปที่ตนเองต้องการพร้อมตกแต่งให้สวยงาม

     6. จากนั้นนำกาวมาทากระดาษให้ติดกับแกนทิชชูให้เรียบร้อย

     7. ลองเล่นของเล่นได้เลย


วิธีเล่น

     ให้นำเชือกฝั่งหนึ่งคล้องเข้ากับคอของตนเองแล้วลองดึงเชือกไปมาเพื่อให้

แกนทิชชูนั้นสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้หรือเล่นได้ตามจินตนาการของตนเอง


ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู


ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู



บทความทางวิทยาศาสตร์


บทความที่  1  สะกิดให้ลูกคิดแบบววิทยาศาสตร์

          ธรรมชาติของเด็ก จะมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็นไม่หยุดนิ่ง เมื่อใด

ที่เผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้แต่มีความต้องการที่จะรู้เขาจะพยายามค้นหาคำตอบเพื่อ

อธิบายสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งจะสังเกตุได้จากที่เด็กจะใช้คำถามแปลกๆที่ตัวเอง

อยากรู้มาถาม จนเราตอบไม่ทัน หรือตอบได้ทุกคำถาม การคิดแบบวิทยาศาสตร์

จะช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบในสิ่งที่เด็กสงสัยได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ


บทความที่  2  สอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน  สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา

          การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ตามแนวทางของ สสวท.ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม

ในกิจกรรมผลที่เกิดกับเด็กคือเด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส

หลาย ๆ ด้านได้รับประสบการณ์ตรงส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านเด็กได้

เรียนรู้อย่างมีความสุขชื่นชมผลงานของผู้อื่นมีความรักและเมตตาต่อ

ไก่และเป็ดได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนรอคอยแบ่งปันมีน้าใจต่อกัน


บทความที่  3  เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

          1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต ผู้ดูเด็กควรจะแนะนำหรือ

ฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่ 

          2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ผู้เลี้ยง

ดูเด็กต้องให้ความมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กุกคนไม่ใช่

สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น  แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กมีหน้าที่จะต้องให้เด็กทุกคน

สนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเด็กทีเรียนเร็วหรือช้าให้เด็กเห็นว่า

วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นสนุก 

          3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้ปกครองมี

ส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดเรียนรู้วิทาศาสตร์  ผู้เลี้ยงดูเด็ก

จะต้องคอยแนะนำผู้ปกครองด้วยว่าจะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรม

เรื่องนี้ได้โดยวิธีใดบ้าง

          4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนาน

และความพอใจผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกว่า

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกอย่าทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก

          5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรทำให้เด็ก

มีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามรถและหัดให้เด็กรู้จักวิธีค้น

หาคำตอบด้วยตนเอง 


บทความที่  4  หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นหรือไม่

          ครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระ

โดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้แต่

สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้เยอะ ๆ


บทความที่  5  ส่งเสริมกระบวนการคิดให้กับเด็ก

          คุณพ่อคุณแม่ทุกคนก็คงอยากเห็นลูกของตนเติบโตเป็นคนดี คนเก่ง เป็นผู้นำ 

มีชีวิตที่มีความสุข และประสบความสำเร็จในสังคม โดยพยายามตระเตรียมลูกในทุก

วิถีทางที่ตนสามารถทำได้พ่อแม่ต้องจำเป็นกระตุ้นพัฒนาการของลูกเพื่อช่วย

ให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของตน ทั้งนี้เนื่องจากสมองของ

เด็กแรกเกิดที่เป็นเด็กปกติทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยความสามารถที่จะเรียนรู้

สิ่งต่างๆรอบตัวถ้าขาดการกระตุ้นที่เหมาะสมเซลล์สมองที่พร้อมจะเรียนรู้ก็

อาจสูญเสียไปทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



การนำไปประยุกต์ใช้   

      - ในเรื่องของการประดิษฐ์นั้นเราสามารถนำไปประดิษฐ์ให้เด็กเล่น

ได้เพื่อส่งเสริมความคิดและจินตนาการในเรื่องวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้  

และเป็นของเล่นที่ทำได้ง่ายและสามารถหาวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็น

ของเล่นให้เด็กได้ส่วนในเรื่องของบทความที่เพื่อนนำมานำเสนอนั้นเป็น

เรื่องทีใกล้ตัวเราและเราก็สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

ห้กับเด็กได้ผ่านสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ประเมินตนเอง

     -  เนื่องจากวันนี้มีธุระก็เลยไม่ได้เข้าเรียนแต่มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ที่

อาจารย์ได้สอนจากบล็อกของเพื่อนและนำมาปฏิบัติได้ครบตามที่อาจารย์ได้

มอบหมายเอาไว้ให้ค่ะ

ประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนกันดีและเพื่อน ๆ ก็สนุกสนานที่ได้ทำ

กิจกรรมร่วมกัน

ประเมินอาจารย์

     - อาจารย์มีการนำสิ่งของมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติทำให้การเรียน

การสอนสนุกสนานไม่น่าเบื่อ และอาจารย์ก็มีการให้ความรู้เพิ่มเติมพร้อมกับ

ยกตัวอย่างทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น