วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่   21   ตุลาคม   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.



กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่นำเสนอของเล่นออกมานำเสนอของเล่นอีก

ในอาทิยต์นี้






          หลังจากนำเสนอของเล่นครบหมดทุกคนแล้วอาจารย์อาจารย์ก็ให้แต่

ละกลุ่มลองนำเสนอแผนตามที่กลุ่มตนเองได้เขียนมา ซึ่งกลุ่มดิฉันเขียนใน

หน่วย " น้ำ " โดยมีหัวข้อในการเขียนดังนี้

- วัฏจักรของน้ำ

- แหล่งน้ำ

- คุณสมบัติของน้ำ

- ประเภทของน้ำ

- ประโยชน์ของน้ำ






การนำไปประยุกต์ใช้

     - เราสามารถนำของเล่นที่เพื่อนนำมาเสนอไปประดิษฐ์ให้เด็กได้เรียนรู้

ทางวิทยาศาสตร์อีกทางหนึ่งซึ่งสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้

การประเมินตนเอง

     - วันนี้ได้ลองเขียนแผนในหน่วยเรื่องน้ำแล้วทำให้เรียนรู้ถึงปัญหาด้วย

ตนเองและไดด้คำแนะนำจากอาจารย์เพื่อนำไปพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น

การประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ มีความตั้งใจในการเขียนแผนมากเพื่อนำข้อผิดพลาดมา

ปรับตนเองให้ดีขึ้นไป

การประเมินอาจารย์

     - วันนี้อาจารย์ได้บอกสอนในเรื่องของการเขียนแผนและหลาย ๆ เรื่อง

ซึ่งมีการยกตัวอย่างทำให้เราเข้าใจเพิ่มมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  14   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.




กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้ออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์คนละ   1  ชิ้น

ที่อาจารย์สั่งทำเป็นการบ้าน  ซึ่งของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ดิฉันได้เตรียมนำมา

นำเสนอนั้นมีชื่อว่า  ขวดหนังสติ๊ก


อุปกรณ์ < tools >

     1. ขวดน้ำพลาสติกใบใหญ่ 1 ใบ  ใบเล็ก 1  ใบ  < botton >

         2.  หนังสติ๊ก  < catapult >

         3. เชือก  < rope > 

         4. กรรไกร < scissors >


ขั้นตอนการทำ  < step >

      1. เจาะฝาขวดทั้ง 2 ใบตรงกลางของฝา

      2. นำเอาขวดใบเล็กมาตัดเอาส่วนหัวของขวดและเจาะรูทั้ง  2  ข้าง

ของขวดใบเล็กให้อยู้ตรงข้ามกัน

      3. จากนั้นก็ร้อยหนังสติ๊กเจ้าไปในรูที่เจาะไว้ทั้ง  2  ด้านของขวดใบเล็ก

      4. จากนั้นนำเชือกมาร้อยเข้าไปในรูของฝาขวดน้ำขวดเล็กความยาว

พอประมาณ

      5. นำขวดนั้ขวดใหญ่มาตัดส่วนก้นขวดออกและเจาะรูด้านข้าง  2  รู

ให้อยู่ตรงข้ามกัน

      6. จากนั้นก็นำเชือกเส้นเดิมมาร้อยเข้ากับฝาขวดน้ำใบใหญ่แล้วผูกปม

เพื่อไม่ให้เชือกหลุดออกจากฝาขวดน้ำ

      7. จากนั้นก็นำหนังสติ๊กที่ผุกติดกับขวดใบเล็กมาร้อยเข้ากับขวดใบใหญ่

ให้ขวดน้ำใบเล็กอยู่ภายในของขวดน้ำใบใหญ่

      8. และนำเชือกอีกหนึ่งเส้นมาร้อยกับหนังสติ๊กและผูกกับปากขวดไว้

      9. ลองดึงเชือกที่ห้อยออกมาจากฝากขวดน้ำได้เลย


วิธีการเล่น

     นำลูกปิงปอง / กระดาษ / ลูกบอลใบเล็กที่เปรียบเสมือนกับกระสุน  ใส่ไป

ในขวดน้ำใบเล็กที่เปรียบเสมือนกับปืนและดึงให้หนังสติ๊กยืดออกแล้วปล่อยมือ

จะทำให้กระสุนกะเด็นออกไปตามแรงที่เราดึงหนังสติ๊ก


หมายเหตุ  ของเล่นชิ้นนี้ควรมีผู้ปกครองคอยดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด



ปืนหนังสติ๊ก

ปืนหนังสติ๊ก


หลักการทางวิทยาศาสตร์ของปืนหนังสติ๊ก

          ขวดหนังสติ๊กอาศัยหลักของการถ่ายเทพลังงาน  เมื่อเราดึงเชือกไป

ทางด้านหลังก็จะเกิดการสะสมพลังงานศักย์ในเส้นยางหนังสติ๊ก  เมื่อเราปล่อยมือ

พลังงานศักย์ที่สะสมไว้ในเส้นยางก็จะเปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ถ่ายให้กับขวดใบ

เล็กและกระสุนทำให้เกิดการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  เมื่อขวดใบเล็กเคลื่อนที่ผ่าน

ปากขวดใบใหญ่จะถูกรั้งให้หยุดด้วยหนังสติ๊ก  พลังงานจลน์ก็จะถ่ายเทไปให้

กับกระสุนส่งผลให้กระสุนวิ่งตรงไปข้างหน้าได้



ผลงานของเพื่อน ๆ 

















การนำไปประยุกต์ใช้

     - เราได้เห็นถึงผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อน ๆ แต่ละคนที่ออกมา

นำเสนอและเราก็สามารถนำผลงานทางวิทยาศาสตร์มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ให้กับเด็กได้ทำให้เด็กเกิดจินตนาการ  ความคิดสร้างสรรค์  และได้เรียนรู้ถึง

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องต่าง ๆ ผ่านของเล่นวิทยาศาสตร์

การประเมินตนเอง

     - วันนี้ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ออกมานำเสนอถือว่าทำได้ดีเพราะ

สามารถเล่นได้จริงและสามารถอธิบายได้ถึงหลักการทำงานทางวิทยาศาสตร์

ของปืนหนังสติ๊กทำให้อาจารย์และเพื่อน ๆ เข้าใจได้

การประเมินอาจารย์

     - วันนี้อาจารย์มีการอธิบายถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์ของของเล่นของ

เพื่อน ๆ เพิ่มเติมนอกจากที่เพื่อนนำเสนอทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและอาจารย์

ยังมีการยกตัวอย่างทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  30   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้

          วันนี้อาจารย์ได้ให้ประดิษฐ์ของเล่น  2  ชิ้น  คือ  ลูกยางจากกระดาษและ

ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู

     สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่  1  ลูกยางจากกระดาษ  ซึ่งของเล่นชิ้นนี้มีลักษณะวิธีการ

เล่นคล้ายกับลูกยาง



กิจกรรมถายในห้องเรียน


กิจกรรมถายในห้อง


อุปกรณ์ < tools >

     1. กระดาษ  < paper >

     2.  คลิบหนีบกระดาษ  < paperclip >

     3. กรรไกร  < scissors


ขั้นตอนการทำ < step >

     1. ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้า

     2. ให้พับครึ่งของกระดาษ

     3. จากนั้นให้พับหัวกระดาษฝั่งใดฝั่งหนึ่งเข้ามาประมาณ  1  เซนติเมตร

     4. และหลังจากนั้นก็เอาคลิปหนีบกระดาษมาหนีบทับตรงกลางของรอยที่พับ

     5. เสร็จแล้วก็ลองเล่นได้เลย


วิธีการเล่น

     ให้กางกระดาษที่ตัดไว้คนละฝั่งและลองโยนขึ้นไปให้สูงและปล่อยให้มันลอย

ลงมาสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น




     สิ่งประดิษฐ์ชิ้นที่  2  ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู     


กิจกรรมภายในห้องเรียน


กิจกรรมภายในห้องเรียน


อุปกรณ์ < tools >

     1. แกนกระดาษทิชชู < tissue  cores >

     2. ไหมพรหม < yarn > 

     3.กระดาษ < paper >

     4. สี < color >

     5. กรรไกร < scissors >

     6. กาว < glue >


ขั้นตอนการทำ < step >

     1. นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดแบ่งครึ่งเป็น  2  ชิ้น

     2. จากนั้นเจาะรูที่แกนกระดาษทิชชูเป็น 2 รูที่ขนานกัน รวมกันเป็น 4 รู

     3. จากนั้นนำไหมพรหมมาร้อยใส่ในรูที่เจาะไว้ทั้งหมดให้ความยาวพอ

         ประมาณแล้วผูกปลายเชือกให้ติดกัน

     4. ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมให้พอดีกับแกนทิชชู

     5. แล้ววาดรูปที่ตนเองต้องการพร้อมตกแต่งให้สวยงาม

     6. จากนั้นนำกาวมาทากระดาษให้ติดกับแกนทิชชูให้เรียบร้อย

     7. ลองเล่นของเล่นได้เลย


วิธีเล่น

     ให้นำเชือกฝั่งหนึ่งคล้องเข้ากับคอของตนเองแล้วลองดึงเชือกไปมาเพื่อให้

แกนทิชชูนั้นสามารถเลื่อนขึ้นเลื่อนลงได้หรือเล่นได้ตามจินตนาการของตนเอง


ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู


ของเล่นจากแกนกระดาษทิชชู



บทความทางวิทยาศาสตร์


บทความที่  1  สะกิดให้ลูกคิดแบบววิทยาศาสตร์

          ธรรมชาติของเด็ก จะมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็นไม่หยุดนิ่ง เมื่อใด

ที่เผชิญกับสิ่งที่ไม่รู้แต่มีความต้องการที่จะรู้เขาจะพยายามค้นหาคำตอบเพื่อ

อธิบายสิ่งนั้นคืออะไร ซึ่งจะสังเกตุได้จากที่เด็กจะใช้คำถามแปลกๆที่ตัวเอง

อยากรู้มาถาม จนเราตอบไม่ทัน หรือตอบได้ทุกคำถาม การคิดแบบวิทยาศาสตร์

จะช่วยให้เด็กค้นหาคำตอบในสิ่งที่เด็กสงสัยได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ


บทความที่  2  สอนเด็กอนุบาลด้วยนิทาน  สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา

          การใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

ตามแนวทางของ สสวท.ผู้ปกครองหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม

ในกิจกรรมผลที่เกิดกับเด็กคือเด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส

หลาย ๆ ด้านได้รับประสบการณ์ตรงส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านเด็กได้

เรียนรู้อย่างมีความสุขชื่นชมผลงานของผู้อื่นมีความรักและเมตตาต่อ

ไก่และเป็ดได้เรียนรู้ร่วมกันกับเพื่อนรอคอยแบ่งปันมีน้าใจต่อกัน


บทความที่  3  เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์

          1. ส่งเสริมและฝึกให้เด็กรู้จักสังเกต ผู้ดูเด็กควรจะแนะนำหรือ

ฝึกให้เด็กหัดสังเกตในสิ่งที่เขากำลังสนใจอยู่ 

          2. สร้างความชัดเจนว่าวิทยาศาสตร์เป็นของเด็กทุกคน ผู้เลี้ยง

ดูเด็กต้องให้ความมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กุกคนไม่ใช่

สำหรับเด็กบางคนเท่านั้น  แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กมีหน้าที่จะต้องให้เด็กทุกคน

สนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเด็กทีเรียนเร็วหรือช้าให้เด็กเห็นว่า

วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นสนุก 

          3. บอกวิธีที่ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้ปกครองมี

ส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดเรียนรู้วิทาศาสตร์  ผู้เลี้ยงดูเด็ก

จะต้องคอยแนะนำผู้ปกครองด้วยว่าจะมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรม

เรื่องนี้ได้โดยวิธีใดบ้าง

          4. ปลูกฝังให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์จะนำมาซึ่งความสนุกสนาน

และความพอใจผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้เด็กรู้สึกว่า

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกอย่าทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก

          5. สร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรทำให้เด็ก

มีความรู้สึกว่าตัวเองมีค่า เป็นคนมีความสามรถและหัดให้เด็กรู้จักวิธีค้น

หาคำตอบด้วยตนเอง 


บทความที่  4  หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นหรือไม่

          ครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

ไปจัดกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ในทุกสาระ

โดยสอดแทรกเข้าไปในทุกกิจกรรมหลักที่ครูจัดอย่างสม่ำเสมอได้แต่

สิ่งที่ครูยังมีความต้องการนั้น ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการ

เรียนรู้เยอะ ๆ


บทความที่  5  ส่งเสริมกระบวนการคิดให้กับเด็ก

          คุณพ่อคุณแม่ทุกคนก็คงอยากเห็นลูกของตนเติบโตเป็นคนดี คนเก่ง เป็นผู้นำ 

มีชีวิตที่มีความสุข และประสบความสำเร็จในสังคม โดยพยายามตระเตรียมลูกในทุก

วิถีทางที่ตนสามารถทำได้พ่อแม่ต้องจำเป็นกระตุ้นพัฒนาการของลูกเพื่อช่วย

ให้ลูกได้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของตน ทั้งนี้เนื่องจากสมองของ

เด็กแรกเกิดที่เป็นเด็กปกติทุกคนเกิดมาพร้อมด้วยความสามารถที่จะเรียนรู้

สิ่งต่างๆรอบตัวถ้าขาดการกระตุ้นที่เหมาะสมเซลล์สมองที่พร้อมจะเรียนรู้ก็

อาจสูญเสียไปทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มประสิทธิภาพ



การนำไปประยุกต์ใช้   

      - ในเรื่องของการประดิษฐ์นั้นเราสามารถนำไปประดิษฐ์ให้เด็กเล่น

ได้เพื่อส่งเสริมความคิดและจินตนาการในเรื่องวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้  

และเป็นของเล่นที่ทำได้ง่ายและสามารถหาวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็น

ของเล่นให้เด็กได้ส่วนในเรื่องของบทความที่เพื่อนนำมานำเสนอนั้นเป็น

เรื่องทีใกล้ตัวเราและเราก็สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา

ห้กับเด็กได้ผ่านสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

ประเมินตนเอง

     -  เนื่องจากวันนี้มีธุระก็เลยไม่ได้เข้าเรียนแต่มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ที่

อาจารย์ได้สอนจากบล็อกของเพื่อนและนำมาปฏิบัติได้ครบตามที่อาจารย์ได้

มอบหมายเอาไว้ให้ค่ะ

ประเมินเพื่อน

     - วันนี้เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียนกันดีและเพื่อน ๆ ก็สนุกสนานที่ได้ทำ

กิจกรรมร่วมกัน

ประเมินอาจารย์

     - อาจารย์มีการนำสิ่งของมาให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติทำให้การเรียน

การสอนสนุกสนานไม่น่าเบื่อ และอาจารย์ก็มีการให้ความรู้เพิ่มเติมพร้อมกับ

ยกตัวอย่างทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

วิชา   การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Science Experiences Management for Early Childhood

อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา   สุขสำราญ

วันที่  23   กันยายน   พ.ศ. 2557

เวลาเรียน   08.30 - 12.20   น.

เวลาเข้าเรียน   08.30   น.    

เวลาเข้าสอน   08.30   น.   เวลาเลิกเรียน   12.20   น.


กิจกรรมในวันนี้


          วันนี้อาจารย์พูดถึงเกี่ยวกับในเรื่องของบล็อกว่าต้องปฎิบัติอย่างไรและให้

ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของเด็กโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง  5  วิธีการเรียนรู้

คือวิธีการที่เด็กเปลี่ยนแปลงการกระทำ  พัฒนาการ  คือ  การบอกถึงความสามารถ

ของเด็กในแต่ละช่วงอายุรวมทั้งคุณลักษณะของเด็กด้วย


กิจกรรมภายในห้องเรียน

1. กระดาษ  < paper >

2. ไม้ < stick >

3. กรรไกร  < scissore>

4. กาว  < giue >

5. ดินสอ  < pencil >

6. สี  < color >



วิธีการทำ

1. ตัดกระดาษที่อาจารย์แจกให้แบ่งเป็น 2 ส่วน


กิจกรรมภายในห้องเรียน
  

กิจกรรมภายในห้องเรียน
   


จะได้รูปแบบนี้


กิจกรรมภายในห้องเรียน


2. จากนั้นนำเศษกระดาษที่เหลือจากการตัดมาพับประกบเข้าหากัน

3. วาดเป็นรูปของ 2 สิ่งที่สัมพันธ์กัน


กิจกรรมภายในห้องเรียน


4. ให้ระบายสีให้สวยงาม

5. จากนั้นนำไม้มาติดไว้ตรงกลางของกระดาษฝั่งใดฝั่งหนึ่ง

6. นำกระดาษที่ติดไม้เสร็จแล้วมาพับเข้าหากันและทากาวให้เรียบร้อย



กิจกรรมถายในห้องเรียน


          
บทความทางวิทยาศาสตร์


บทความที่ 1 เรื่องสอนลูกเรื่องพืช

       
          พืชเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็กเป็นสาระการเรียนรู้ที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการ

ทั้ง  4  ด้านได้

          ด้านร่างกาย

     - การได้เคลื่อนไหวตามต้นไม้ที่โอนเอน  พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่  เช่น

แขน  ขา  การทรงตัว

          ด้านอารมณ์

     - ให้เด็กได้รู้สึกผ่อนคลายอารมณ์  ความรู้สึก  ได้เห็นดอกไม้ที่โอนเอน

อ่อนไหวไปมา

          ด้านสังคม

     - เด็กได้เรียนรู้เรื่องเรื่องผักได้ประกอบอาหารกับเพื่อน ๆ เรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์

กับเพื่อนร่วมห้อง

          ด้านสติปัญญา

     - ได้จัดกิจกรรมให้เด็กได้ปลูกต้นไม้ได้วัดส่วนสูงของพืชแต่ละชนิด  ได้นับจำนวน

ของดอกไม้  ได้จำแนกพืช  ครูส่งเสริมเด็กจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ  เช่น  การเรียง

ลำดับผักส่งเสริมทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  ประเด็นทางวิทยาศาสตร์

ในด้านสติปัญญามีการแก้ปัญหาในการวัดระยะของต้นไม้



บทความที่  2  เรื่องเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน


          การสร้างเจตคติที่ดีให้กับเด็ฏโดยผ่านการเรียนรู้ต่าง ๆ การใช้นิทานมาเป็น

สื่อช่วยสอนทางวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์  ได้รู้จักเชื่อมโยงนิทานกับ

วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  เทคนิคในการเลือกควรเลือกที่เขาชอบ  ควรมีสีสัน

เนื้อหาไม่ยาว  มีการใช้โทนเสียงต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ นิทาน

ช่วยให้เด็กเห็นภาพในเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่าย  นิทานเป็นสื่อที่เด็กชอบเพราะเป็น

เรื่องราวขึ้นอยู่กับผู้ที่นำเสนอมีตัวละครใกล้ตัวสั้น ๆ ง่าย ๆ ทำให้มีการใช้นิทาน

เป็นสื่อในการบูรณาการความรู้เข้าไป  เพลงนั้นต้องมีจังหวะ  ทำนอง  ใช้เนื้อหาให้

เข้ากับจังหวะ  ทำนอง  แต่นิทานสามารถใส่เนื้อหาได้เลยไม่ต้องมีจังหวะทำให้เป็น

เรื่องง่ายในการสอน



บทความที่  3  เรื่องแนวทางการเติมวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กอนุบาล


          เด็กจะคอยซักถาม  อยากรู้อยากเห็นในเรื่องต่าง ๆ รอบตัวแต่ผู้ใหญ่ไม่ค่อย

ให้ความสนใจทำให้เด็กไม่มีการพํมนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์  แนวทางการสอน

คือ  สิ่งสำคัญความแม่นยำของครูจะทำให้เด็กมีพัฒนาการและการลงมือปฏิบัติจริง

จะทำให้เด็กได้ประสบการณ์  ครูต้องบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอน

ให้เด็กได้เรียนรู้เป็นองค์รวม  เรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัวเด็ก  ถ้าครูไม่มีความรู้อย่า

ตอบคำถามเพื่อปิดกั้นความคิดของเด็กแต่ควรหาคำตอบไปพร้อม ๆ กัน


          แนวทางการปฏิบัติในการสืบเสาะความรู้เด็ก


1. ตั้งคำถาม

2. หาคำตอบโดยครูให้ความสะดวก

3. ดูถึงผลของคำตอบว่าถูกไหมและเสริมเติมความรู้เพิ่ม

4. นำเสนอถึงผล

5. นำสิ่งที่นำเสนอนั้นไปเชื่อมโยงกับหลักวิทยาศาสตร์



บทความที่  4  เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์สนุก ๆ สำหรับคุณหนู ๆ


          วิทยาศาสตร์จะกระตุ้นความรู้ของเด็ก  การทดลองจะส่งเสริมความคิดของเด็ก

การพาเด็กไปในที่ที่สามารถช่วยให้เด็กได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นการเปิด

โลกทัศน์ให้กับเด็กได้เช่นกัน  และยังสามารถทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่

สามารถทำได้ที่บ้านด้วย  การพาเด็กออกไปเปิดโลกจะช่วยทำให้เด็กเกิดความสนใจ

และตื่นเต้นกับประสบการณ์ใหม่ ๆ



          หลังจากทำกจกรรมภายในห้องเรียนเสร็จแล้วอาจารย์ก็ได้ให้แต่ละกลุ่มนำงาน

ที่ได้รับมอบหมายเป็นงานกลุ่มที่ให้กลับไปทำตั้งแต่คาบเรียนที่แล้วออกมาติดหน้า

ห้องเพื่อให้เพื่อน ๆ ในห้องได้เห็นถึงผลงานของแต่ละกลุ่ม  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้

นำเสนอในเรื่องของน้ำ


Mind  Map


การนำไปประยุกต์

- สามารถนำงานประดิษฐ์ที่อาจารย์ได้สอนในห้องไปต่อยอดและนำมาจัดกิจกรรม

ให้กับเด็กได้ฝึกในเรื่องของการคิดสร้างสรรค์และพัฒนาความคิดของตนเอง

ประเมินตนเอง

- วันนี้ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้เป็นอย่างดี  

แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย

ประเมินเพื่อน

- วันนี้เพื่อน ๆ ดูตั้งใจเรียนและตั้งใจประดิษฐ์ของเล่นของตนเองเพื่อให้ออกมา

สวยงามและตรงตามที่ตั้งใจไว้ 

ประเมินอาจารย์

- วันนี้อาจารย์แต่งกายได้น่ามอง สะอาดและดูดี  รวมทั้งอาจารย์ยังได้มีการ

สอดแทรกสิ่งประดิษฐ์มาให้ได้ร่วมกันทำภายในห้องเรียนถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดี 

ง่าย และสามารถนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้จริง ๆ และยังทำให้นักศึกษาได้

ผ่อนคลายอารมณ์จากการประดิษฐ์ชิ้นงานอีกด้วย  นอกจากนี้อาจารย์ยังได้มีการ

แนะนำการทำ Mind  Map ของแต่ละกลุ่มให้ฟังทำให้ได้เห็นถึงข้อบกพร่องของ

ชิ้นงานและนำคำแนะนำนี้ไปปรับปรุงผลงานให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป



ค้นคว้าเพิ่มเติม

         ดิวอี้มีปรัชญาที่สะท้อนออกมาเด่นชัดในเรื่องของการศึกษาที่ยกย่อง

ประสบการณ์สำหรับผู้เรียนเน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้สถานการณ์ที่เป็นจริง เพราะ

การศึกษาตามความคิดของจอห์น  ดิวอี้  คือ  ความเจริญงอกงามทั้งทางด้าน

ร่างกาย  สติปัญญา  และคุณธรรม  ดังนั้นกระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์

ใหม่ที่ต่อเนื่องกับประสบการณ์เก่าเรื่อยไปต้องส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ใหม่

เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในปัจจุบันและอนาคตได้


ผลจากการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น  ดิวอี้  ดังนี้

     1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่

หลากหลายและสื่อที่เร้าความสนใจ

     2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ  ตามความถนัดและตามศักยภาพด้วยการ

ศึกษาค้นคว้า  ฝึกปฏิบัติ  ฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความ

เชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจเหตุให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน

     3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์เกิดกระบวนการ

ทำงาน  เช่น  มีการวางแผนการทำงาน  มีความรับผิดชอบเสียสละเอื้อเฟื้อ

เผื่อแผ่  มีวินัยในตนเอง  มีฟฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตยเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี

รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

     4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจาการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจาก

ประเด็นคำถามของผู้สอนสามารถค้นหาคำตอบและวิธีการได้ด้วยตนเอง

สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล

     5. ทุกขั้นตอนจาการทำกิจกรรมจะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อ

ให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้

     6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานโดย

ให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนไม่นำผลงานของผู้เรียนมา

เปรียบเทียบกัน



บิดาแห่งปฐมวัย

          เฟรอเบล  นักการศึกษาชาวเยอรมันและผู้นำการศึกษาอนุบาล  ผู้ได้รับ

ขนานามว่าเป็น  "บิดาการศึกษาอนุบาล"  เเฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถ

สำหรับสิ่งดีงามและความรู้มาตั้งแต่เกิดการเรียรที่ดีต้องให้เด็กมีประสบการณ์ที่เด็ก

สามารถได้เล่นได้แสดงออกได้สืบเสาะค้นคว้าประสบการณ์ที่จัดให้เด็กนั้นต้อง

สะท้อนระดับพัฒนาการ  ความสนใจการเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเข้าใจของ

เด็กอย่างชัดเจน  เด็กควรได้นับประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกชั้นเรียน  โดย

เฉพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ดีสำหรับเด็ก  คือ  การเล่น



เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว

          จอห์  ล็อก ( John  Lock ) ถือเป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาสมัยใหม่  ทั้งนี้เนื่องจาก

ทฤษฏีทางการศึกษาของเขามีรากฐานอยู่บนวิธีการทางวิทยาศาสตร์  การ

ศึกษาจิตใจและการเรียนรู้  ล็อคมีความเชื่อว่า  เด็กเปรียบเสมือนกับผ้าขาวสะอาด

( clean  slate )  เด็กจะเติบโตมาเป็นบุคคลเช่นใดนั้นขึ้นอยู่กับปรสบการณ์ที่ได้รับ

จากพ่อแม่  สังคม  การศึกษาและโลกรอบตัว  ล็อคเป็นนักการศึกษาชาวยุโรปใน

ยุคแรกที่กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก