บทความ
จัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตามสภาพอากาศ
แต่ละฤดูกาลจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์
ของโลก ความร้อนจากดวงอาทิตย์ การระเหยของน้ำบนผิวโลก และการเคลื่อนที่
ของอากาศ ในแต่ละภูมิภาคจะมีช่วงฤดู กาลแตกต่างกัน สำหรับประเทศไทย
มี 3 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว แต่ภาคใต้ของประเทศไทยมีเพียง
2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน ฤดูกาลเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกนี้ เด็กจึง
ควรรู้จักและเข้าใจสภาพธรรมชาติของฤดูกาล เพื่อได้อยู่อย่างมีความสุขกับ
ธรรมชาติ การสอนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงถูกบรรจุลงใน
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ เรื่อง
ธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากสภาพจริง
ในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมอื่นๆที่ครูออกแบบตอบสนองความสนใจ
ของเด็ก รวมทั้งพ่อแม่ที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้แก่ลูกเรื่องฤดูกาล
เช่นกัน บทความเพิ่มเติม
โทรทัศน์ครู
อาจารย์พงษ์ศักดิ์ แพงคำอ้วนกล่าวว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ท้าทายความ
สามารถหรือเป็นสิ่งที่นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการ
ทดลอง การสำรวจ สามารถพาเด็กออกไปเรียนรู้ภายนอกได้ ข้อดีของแหล่งเรียนรู้
คือ ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่แนวปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เด็กได้สัมผัส
เช่น ต้นไม้ 1 ต้น ให้เด็กได้สังเกตส่วนประกอบของต้นไม้แล้วสามารถนำไปสอน
ได้ภายในห้องเรียน เป็นต้นโดยการทำกิจกรรมนี้ครูจะให้เด็กได้สังเกตธรรมชาติ
ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะเอาเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ผนวกกับกระบวนการเรียนรู้
Learning By Doing การสร้างฐานเป็น 5 ฐาน คือ 1. ฐานระบบนิเวศน์คือ
2. กลุ่มสิ่งมีชีวิต 3. กลุ่มสิ่งไม่มีชีวิต 4. ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่ง
ไม่มีชีวิต 5. เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ป่าชายเลนจากกิจกรรมทั้ง 5 ฐานนี้จะมี
การเชื่อมโยงความรู้ซึ่งกันและกันและจะทำให้เด็กเกิดความรู้ด้วยตนเอง
โทรทัศน์ครูเพิ่มเติม
สามารถหรือเป็นสิ่งที่นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ด้วยการ
ทดลอง การสำรวจ สามารถพาเด็กออกไปเรียนรู้ภายนอกได้ ข้อดีของแหล่งเรียนรู้
คือ ทำให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงทฤษฎีมาสู่แนวปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เด็กได้สัมผัส
เช่น ต้นไม้ 1 ต้น ให้เด็กได้สังเกตส่วนประกอบของต้นไม้แล้วสามารถนำไปสอน
ได้ภายในห้องเรียน เป็นต้นโดยการทำกิจกรรมนี้ครูจะให้เด็กได้สังเกตธรรมชาติ
ซึ่งกิจกรรมนี้ครูจะเอาเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ผนวกกับกระบวนการเรียนรู้
Learning By Doing การสร้างฐานเป็น 5 ฐาน คือ 1. ฐานระบบนิเวศน์คือ
2. กลุ่มสิ่งมีชีวิต 3. กลุ่มสิ่งไม่มีชีวิต 4. ความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่ง
ไม่มีชีวิต 5. เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ป่าชายเลนจากกิจกรรมทั้ง 5 ฐานนี้จะมี
การเชื่อมโยงความรู้ซึ่งกันและกันและจะทำให้เด็กเกิดความรู้ด้วยตนเอง
โทรทัศน์ครูเพิ่มเติม